Rabu, 9 Januari 2019

Thailand - The Military and the Monarch. 9014.




277-33
ทหารกับสถาบันพระมหากษัตริย์ The Military and the Monarch

  • 6 มีนาคม 2559
  • หลักเมืองออนไลน์
  • รักษ์เอกราช


  • ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีการบันทึกมาตั้งแต่อดีตตราบจนปัจจุบันได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะก่อร่างสร้างชาติท่ามกลางมรสุมแห่งภัยคุกคามรอบด้านอันเกิดจากการใช้กำลังบังคับ หรืออันเกิดจากการรุกรานของชนชาติพันธุ์อื่นในหลายครั้งที่ประเทศไทยต้องล้มลุกคลุกคลานจากการสูญเสียพื้นที่ เขตแดนจากการถกูกระทำทารณุกรรมหรือจากการสูญเสียความมั่นคงของชาติ แต่ในที่สุดแล้วประเทศไทยก็สามารถสร้างชาติสร้างอาณาเขตและรักษาอธิปไตยจนยืนหยัดมาให้อนุชนรุ่นปัจจุบันได้มีผืนแผ่นดินที่มีเอกราชผืนนี้ไว้เป็นบ้านเป็นเมือง การสร้างชาติของไทยได้กระทำการรบป้องกันประเทศและรักษาอธิปไตยมาโดยตลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนชาวไทยจึงต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นทั้งราษฎรและเปน็นกัรบในเวลาและโอกาสอันสมควร ซึ่งผู้นำสูงสุดของประชาชนในอดีตและต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นแม่ทัพใหญ่ในการ รักษาเอกราชและประชาธิปไตยคือองค์พระมหากษัตริย์ที่ดำรงพระราชสถานภาพเป็นจอมทัพ เป็นศูนย์รวมใจของกำลังพลและยังต้องทรงดำเนินพระราชกรณียกิจ เพื่อบำาบัดฟื้นฟูและทำนุบำารุงประเทศในยามที่เสร็จจากศึกสงครามเพื่อยังความเจริญรุ่งเรืองความเป็นปึกแผ่นให้บังเกิดขึ้นในชาติและอำนวยความผาสุกให้บังเกิดอย่างอุดมสมบูรณ์ในมวลหมู่มหาชนชาว ไทยตลอดระยะเวลาและประวัติศาสตร์อันยาวนานของประวัติศาสตร์ ไทยเห็นได้ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักของชาติและเป็นที่ยึดเหยี่ยวชาติไทยของเรามาทุกยุคทุกสมัย ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทย แต่ละพระองค์ต่างก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ จึงนำมาสู่การเกิดขึ้นของมิติแห่งความจงรักภักดีอย่างลึกซึ้งของประชาชนชาวไทยทมีต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและสถาบันพระมหากษัตริย์ และบังเกิดเป็นความตระหนักในการเทิดทูนและเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมิรู้คลาย
    277-4
    ทหารไทยหรือกองทัพต่างก็มีบทบาทในการสนองพระเดชพระคุณ ในราชการสงครามมาโดยตลอด ซึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าในการศึก สงครามแต่ละครั้งนั้นตัวชี้ขาดในชัยชนะหรือความพ่ายแพ้คือทหาร มิเพียงแต่ฝีไม้ลายมือหรือความเชี่ยวชาญในเชิงสงครามเท่านั้นแต่สิ่ง ที่มีผลต่อจิตใจและเป็นจุดเปลี่ยนไปสู่ผลการรบนั้นคือขวัญของกองทัพและกำลังใจของทหาร ทั้งนี้เพราะหากทหารทุกคนมีขวัญและกำลังใจที่ดีย่อมนำมาสู่การดำเนินกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นรอง ใครในการศึก อีกทั้งหากองค์จอมทัพทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทรงการศึกด้วยพระองค์เองหรือพระราชทานพรให้แก่กองทัพแล้วไซร้สิ่งที่ตามมาคือความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเอาชนะข้าศึกศัตรูในกลศึก นั้นก็จะทวีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นจนก่อให้เกิดพลังมหาศาลในการเข้า ประจญประจัญข้าศึก จนสามารถต่อตีจนเอาชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู โดยไม่ยากเย็นนักจึงกล่าวได้ว่า ทหารและกองทัพคือจักรแก้วที่ทรง อานุภาพเคียงคู่ในทิพยสมบัติแห่งองค์จักรพรรดิราช ซึ่งเมื่อยามแผลง ไปในทิศทางใดหมู่มวลปัจจามิตรก็จะราพณาสูรไปในทันที หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งว่าทหารคืออาวุธอันทรงอานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ที่จะทรงใช้ในการรักษาเอกราชและความมั่นคงของชาติซึ่งจากหน้า
    277-2
    ประวัติศาสตร์ในยุคที่ผ่านมา ทราบว่าทหารและกองทัพได้ร่วมกัน ถวายความจงรักภักดี ถวายพระเกียรติและสนองพระเดชพระคุณองค์ พระมหากษัตริย์ในรัฐกิจและราชกิจต่างๆ ด้วยความมุ่งมั่นศรัทธาและ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณทั้งในยามปกติและยามศึกสงครามโดย มิได้ย่อท้อต่อความยากลำบากแต่ประการใดในขณะเดียวกันที่องค์ พระมหากษัตริย์ ก็ทรงแผ่พระราชอำนาจคุ้มครองรักษาและอำนวย ความสขุใหแ้กท่หารหาญของพระองค์เพอื่ใหด้ำรงชวีติและดำรงสถานะ ได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีในสังคมเพื่อเป็นการตอบแทนความมุ่งมั่น ตั้งใจในการอุทิศและทุ่มเทชีวิตจิตใจปฏิบัติกิจทหารสำหรับสร้างความ เป็นปึกแผ่นของชาติตลอดจนถวายราชกิจด้วยดีเสมอมา
    277-3
    กองทัพและทหารไทยในทุกยุคทุกสมัยจึงมีภารกิจและหน้าที่ใน การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอดซึ่ง เป็นการแสดงออกถึงจิตสำนึกในการตระหนักรู้ถึงพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าของชาวไทยที่ทรงดำเนินพระราช กรณียกิจสร้างนำให้สามารถดำรงความเป็นชาติอย่างมั่นคงและสร้าง ความผาสุกให้แก่ประชาชนเมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่กองทัพและทหารไทย ในปัจจุบันพึงกระทำเพื่อบรรลุภารกิจในการพิทักษ์รักษาและเทิดทูน สถาบันพระมหากษัตริย์ คือ การน้อมนำพระราชดำริและหลักธรรมที่ ปรากฏอยู่ในพระราชกรณียกิจโดยอัญเชิญมาเป็นแบบอย่างเพื่อปฏิบัติ ให้บังเกิดความสุขและความเจริญในสังคมไทย ควบคู่ไปกับการสอดส่อง ดูแลและปกป้องการกระทำของผู้ไม่หวังดีที่อาจส่งผลต่อการล่วงละเมิด สถาบันพระมหากษัตริย์ในทุกรูปแบบ ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดอันพึงกระทำตลอด เวลาหรือทุกขณะจิต คือ ประพฤติตนให้เป็นทหารที่ดีของต้นสังกัดและ เป็นคนที่ดีของสังคมสิ่งนี้คือการแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน อย่างสูงสุดแล้ว
    277-5
    The written history of the Thai Nation indicates that the nation founding efforts were carried out while threats were from all directions.Those threats were either threaten by forces or invasions. At times, Thailand struggled through losing of her territory, suffering from ill treatment and losing national security. However,Thailand had finally been founded with her territory and her sovereignty which has been safeguarded for the Thai descendant in the present to have this independent country as our homeland. The Thai nation founding had been carried out along with combating to defend the country and safeguarding the sovereignty. As such, all Thais were citizen and warriors as appropriate. In the past, the leaders of the people who played an important role as Commander-in-Chief of the national defence forces were the Kings. The Kings whose status was Supreme Commander of the Royal Thai armed forces and spiritual centre the personnel had to carry out duties to restore and maintain the country after the war time for the prosperity and solidarity of the nation, as well as the provision of peace for the Thai people.

    Throughout the long history of Thai nation, it is clearly seen that the monarch institution always stands as a principle institution and the center of the nation in every periods. As every kings have the royal grace of immeasurable and unending that bring about the great dimension of deeply loyalty towards the King and the Monarch institution as reflected as the endless respect and honour to the Kings.

    Thai military or armed forces all have significant roles in serving His Majesty the King in all warfare. This is undeniable that in each battlefield, the indicating factor for victory or defeat is the soldiers. Not only the excellent fighting skill or the expertise in battle that is influential for every warrior, but also the spirit of the army and courage of all soldier. The morale of the warriors could lead to an effective strategy and become a second to none. Moreover, if the Highest Commander of the Royal Thai Armed Forces takes an action himself or even blessed the army, it will strongly multiply the will to overcome the enemy until they are all easily defeated. It can be said that the military and the armed forces are the powerful Chakram (the ancient throwing weapon) of the great Emperor (ideal universal ruler) which swept the entire enemy away once it is thrown, in other words, the military is the mighty weapon used by the king in order to safeguard the sovereignty and security of the nation.

    Pages from history told us that the military and the armed forces have always been strongly loyal and untiringly dedicated to the King’s State’s affairs and duties with wholehearted appreciation of his grace divine both in wartime and peacetime. The King had also enlarged his power to protect and exhilarate his military in order to maintain their honour and dignity in the society, to reciprocate the devotion and sacrifice life and soul in performing military duties for solidarity of the nation, as to carry out mission for the King’s duties.

    The military and the Royal Thai Armed Forces have the primary responsibility to safeguard and uphold the Monarchy institution which reflect their gratitude towards the royal generosity of His Majesty the King of Thailand who has performed royal duties for the strength of the nation and harmony among people. Within this respect, to accomplish their mission in safeguarding and upholding the Monarchy institution, the military and the Royal Thai Armed Forces need to embrace His Majesty the King’s initiatives and ethics which are often reflected in royal activities as a model code of conduct in order to bring peace and prosperity to the Thai society, while monitoring and preventing ill-intentioned person from violating the Monarchy. Hence, the best way to show royalty towards His Majesty the King is to conduct oneself as a professional soldier in the unit and a good citizen of the society.

    พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์
    ทหารกับสถาบันพระมหากษัตริย์ The Military and the Monarch – หลักเมืองออนไลน์

    ศกดให้
    https://www.youtube.com/watch?v=vHAYrpKtmj8

    ปีนี้“เกณฑ์ทหาร”กว่าแสนคน! ‘มิกค์ ทองระย้า’ สมัครทหาร ‘แบม แบม GOT 7’ จับใบดำ-ใบแดง


    Isnin, 2 Ogos 2010
    KEDAH BUKAN MELAYU?
    Salam. Artikel saya pada kali ini adalah ulasan mengenai kenyataan yang dibuat oleh seorang Forumer dalam sebuah Forum. Dibawah adalah lampiran tulisan Forumer tersebut.

    Srivijaya or Sribhoga had became an Empire after 7th C AD when they broke into Suvarnabhumi (Malayan Peninsula-Southern Thai old name). It began in Southern Sumatera in Indonesia and their first King is actually a Hindu from ancient India (Vedic period), they had relationship with Sri Lanka and Benggal. In the Indian Tamil Inscription above, you can see that the Kingdom of Srivijaya, Malayur (Malay, Melayu), and Lamuri-Desa are the Kingdoms in Sumatera which is now in Indonesia, at first Srivijaya is only a regional Kingdom but later combined with Malayu Kingdom of Jambi, among the dynasty in Malayu Kingdom is Shailendra dynasty, some people speculated that the dynasty is actually a foreign dynasty and not native in Indonesia, they possibly ran from Malayan Peninsula as when Funan Kingdom was defeated by Chenlar Kingdom, the whole Kingdoms in South too had to bow to Chenlar, and might be those people are from Funan Royal Court, they might be escaping from prosecution and sailing across the sea to Sumatera. 

    The Kingdom Malayur language or Bahasa Melayu (dialect) was actually the formal language used as Lingua Franca and administration in Malayan Peninsula, Java Island, and Borneo Island, Southern Philippines, and Southern Thai because of they were under the influence of Srivijaya-Malayu Kingdom. Malay Language was divided into three period, the first period with Hindu-Buddhism influence when the language was influenced by Sanskrit with rich Sanskrit vocabulary, and then Classical Malay which is actually influenced by Persian and Arabic, and later Modern Malay, which is now spoken in Singapore, Malaysia, Brunei, and Indonesia (a version of Malay dialect). Lunggasuka people speak different language which is their own native language. Our language today is the blend of Malay and our ancestor language, Malay ethnic from Indonesia won't understand us entirely when we speak because we have our native words and our dialectical grammar is different from them.

    Here are some words in our Kedah Language, they are not Malay nor Thai. People today tend to classify Kedah language as a Malay dialect but many Kedah people refuse it and saying that it is a distinct language influenced largely by Malay, not a dialect. Kedah people too like Khmer people are proud people as we refer ourselves as an ethnic and Malay is a different ethnic , and we revere our Land as it is a Sacred land:

    Pra Om, Prang, Moh, Pok, Mak, Anak, Beang, Heang, Kchuboung, Athaan, Kherchai, Thaouk, Yeao, Khrieao, Khunnaiy, Kherngeau, Relaiy, Rompohn, Ph'ung, Khabau, Kherchieau, Khraao, Sertheap (Srahthap), Serdaeng (Sadaeng), Chanahk, Chearouk (Chrouk), Leegarn, Phu'ngkorc, Loolaarc, Jheop, R'ngeath, etc. It is difficult to translate them even into Standard Malay or English because some of them have contextual meaning especially the Verbs, not merely words.

    Artikel ini menarik perhatian saya. Setelah channelling siapa penulis artikel ini saya dapat kesan bahawa beliau sama ada memang penyokong siam nai-nai atau salah seorang daripada pendokong setia teori siam nai-nai. 

    Artikel ini dengan jelas menyatakan bahawa si penulis mengakui bahawa orang-orang Melayu Kedah sebenarnya adalah bukan keturunan Melayu tulin dan adalah berasal daripada suku Mon-Khmer. Menurut beliau lagi sebahagian besar orang Kedah juga menyetujui pendapat beliau dan tidak mengaku sebagai Melayu tetapi adalah etnik Kedah yang lebih dekat dengan etnik Mon-Khmer berbanding Thai atau Melayu. Mereka dikatakan telah diMelayukan oleh kerajaan Malayur dan Srivijaya apabila kerajaan-kerajaan mereka seperti Kedah tua, Gangga negara dan Langkasuka di takluki oleh empayar Melayu-Srivijaya. Persoalannya disini adakah pendapat beliau ini boleh diterima? Adakah benar bahawa sebahagian besar daripada orang Kedah sendiri tidak mengaku bahawa mereka adalah Melayu tetapi adalah Mon-Khmer. Kenyataan beliau ini agak aneh kerana beliau menolak bukti-bukti DNA dan linguistic yang jelas meletakkan orang Melayu Kedah sebagai Austronesia dan bukan Mon-Khmer.

    Saya akui berkemungkinan besar ada diantara suku Mon-Khmer yang telah mengalami asimilasi atau peresapan budaya dan bahasa dengan suku Melayu, namun perlu diingat bahawa jika benar orang Kedah adalah Mon-Khmer kerana bahasanya berbeza seperti perkataan-perkataan yang dituliskan dalam artikel tersebut, mengapa orang Kelantan atau selatan thai di sebelah pantai timur berlainan benar dialeknya sedangkan penduduk disini juga adalah dekat dengan Indochina? Jika orang Champa dan Kelantan serta pattani adalah Austronesia apa yang menyebabkan orang Kedah menjadi Mon-Khmer. Hipotesis yang dikemukakan beliau adalah tidak kukuh kerna tidak bersandarkan bukti yang nyata dan hanya tertumpu kepada bukti linguistic sahaja. Itupun belum cukup mantap lagi. Berkemungkinan besar keturunan penulis berkenanaan dan orang-orang kampung beliau adalah memang berketurunan Mon-Khmer yang suatu ketika dahulu pernah berhijrah ke Kedah atau mungkin dibawa oleh pedagang hamba, Itu tidak mustahil.

    Teori yang beliau kemukakan ini sama tidak kukuhnya dangan teori anai-anai yang mengatakan bahawa orang Kedah adalah orang Siam. Hanya kerana sebutan perkataan itu berbeza tidak bermakna ianya dari stok atau suku ygng berlainan. Kenyataan beliau dalam artikel ini juga menunjukkan bahawa beliau mempunnyai pemahaman yang amat cetek tentang erti Melayu yg sebenar dan juga lilmu bahasa itu sendiri. Beliau menyatakan bahawa jika orang Melayu asal Indonesia mengedngar pertuturan orang Kedah sudah pasti mereka tidak akan memahaminya...nah, begitu juga kalau mereka mendengar percakapan orang Kelantan dan Terengganu sudah tentu mereka juga tidak akan memahaminya apatahlagi jika mereka mendengar bahasa Pahang yang berbeza mengikut daerah dan aliran sungai.

    Bagaimana jika saya sebutkan beberapa perkataan Pahang disini yang pasti orang-orang dari Kedah juga akan menganggap ia adalah bahasa Mon-Khmer: KOI, KEH, KOHOIT, MELENGGEING, PROH, SEDEY, MENGKALA, MENCIPOIT, BABIR, AOK,MOH, MERELOH,MERENOK, PEDOOH,KEKNYE, KEHUT, KEHAK, PEPALEH ect. Begitu juga dengan dialek-dialek suku-suku Melayu yang lain yang banyak di Nusantara ini, adakah kerana ianya berlainan maka anda boleh mengaggap ia adalah bukan dari rumpun Melayu? Tidak, ianya tidak semudah itu untuk mengelaskan sesebuah bahasa . Seorang pakar bahasapun terpaksa berkerja mengkaji bertahun-tahun sesuatu nahu bahasa itu untuk mengkalsifikasikan sesebuah bahasa tersebut.

    Bahasa Champa misalnya, jika anda mendengar sekali imbas anda akan seperti mendengar bahasa Thai atau bahasa Khmer malahan anda akan terus menganggap bahawa ia adalah dari rumpun Mon-Khmer, padahal ia telah disepakati oleh pakar-pakar bahasa sebagai bahasa Austronesia atau Melayo –polinesia dan bukan Mon-Khmer. Mungkin intonasinya adalah hampir dengan bunyi Mon-Khmer tetapi perkataannya adalah berbeza. Begitu juga dengan bahasa Acheh, bagi yang tidak pernah mendengar pasti akan merasa pelik dan menggaggap ia bahasa Thai atau khmer padahal ia adalah bahasa rumpun Melayu. Jadi kenyataan beliau yang menyatakan bahawa orang Kedah adalah Mon-Khmer semuanya adalah tidak mempunyai asas yang kukuh dan boleh dipertikaikan. Malahan sehingga sekarang tidak terdapat satu buktipun yang dapat mengukuhkan kenyataan yang didokong beliau bahawa kerajaan Langkasuka menggunakan bahasa Mon-khmer.

    Tidak adal stele, prasasti atau manuskrip yang dapat menyokong teori ini, tetapi peliknya anda dapat melihat dengan banyak stele, dan prasasti yang menyatakan mengenai kerajaan Champa dengan bahasanya sekali yang dianggap sama tua atau lebih tua daripada Langkasuka sendiri. Jika benarpun sudah pasti bukan 100% masyarakat yang menguasai kerajaan tersebut adalah Mon-khmer, mungkin kerajaannya berbentuk heterogeneous sepertimana kerajaan-kerajaan Melayu yang lain dimana berlakunya percampuran darah antara Mon-Khmer-Melayu yang akhirnya membentuk masyarakat utara semenanjung tanah Melayu sekarang. Namun ia masih lagi tidak menyelesaikan persoalan saya mengenai mengapa terdapat perbezaan yang begitu ketara diantara dialek pantai timur utara iaitu Pattani, Kelantan Terengganu dengan dialek Kedah perlis sedangkan jika dilihat pada peta pengaruh langkasuka dan Kedah tua, kedua-dua kawasan pantainya iaitu pantai timur dan pantai barat adalah dibawah kekuasaannya? Ini adalah suatu misteri! Jika benar Kedah adalah Mon-Khmer mengapa Pattani dan Kelantan tidak dan mengapa perkataan-perkatan Mon-Khmer ( jika benar ia perkataan Mon-Khmer) yang disebut dalam artikel tersebut tidak terdapat di Kelantan, sedangkan ia adalah dibawah pengaruh kekuasaan yang sama iaitu Langkasuka?? Pelik bukan! Barangkali ada pakar-pakar bahasa atau pakar sejarah yang lebih arif tentang ini boleh memberikan komen atau pendapat serta hipotesis anda.

    Rumusannya saya tidak bersetuju dengan artikel berkenaan yang menyatakan bahawa orang Kedah adalah Etnik khas Mon-Khmer. Perbezaan perkataan dan persamaan nya dengan perkataan mon-Khmer berkemungkinan besar adalah daripada cara ambilan atau pinjaman. Jika mahu meletakkan perbezaan ketara dialek sebagai penentu suku bangsa maka dengan mudah kita dapat mengeluarkan suku-suku Melayu yang lain daripada kelompok Austronesia kerana jika anda atau si penulis artikel ini mendengar percakapan Jawa Totok atau Bugis, atau batak, atau Toraja atau Aceh atau dialek Bali maka sudah tentu akan tercengang dan menyatakan bahawa suku-suku ini bukan Melayu dan berasal dari Mon-khmer juga. Hal ini kerana bahasa-bahasa ini juga lenggok nya dan banyak perkataan-perkataannya yang tidak terdapat dalam kosa kata bahasa Melayu. Jika sang Forumer masih mahu mempertahankan kenyataan beliau bahawa orang Kedah adalah dari suku Mon-Khmer dan bukan Melayu Austronesia, nampaknya mereka terpaksa menukar status bangsa mereka dalam kad pengenalan dan borang-borang rasmi sebagai peribumi...:) mereka juga perlu diberikan subsidi penuh kerajaan dalam segala aspek keranan mereka sama dengan suku-suku mon-Khmer yang lain yang terdapat banyak di Semenanjung Malaysia ini seperti Jah-Hut, Jakun, Semelai, Senoi, Semak-beri, mah-Meri, Semak Beri, seboi dan banyak lagi suku-suku yang kita orang Melayu sebut sebagai ORANG ASLI...Ya orang asli! mereka inilah suku Mon-Khmer sebenar yang masih ada di Semenanjung Tanah Melayu ini. Mahukah rasanya orang-orang Kedah disamakan dengan mereka ini?..hehe , alamatnya tunggu kiamat la kot...bukan niat saya untuk menghina mereka tapi sekadar gurauan sahaja...:) jangan marah ye orang-orang Kedah. Sekian


    อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
    DAVID STRECKFUSS
    อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย

    อนาคตของสถาบันกษัตริย์นั้นอย่างน้อยจะถูกกำหนดโดยจุดแข็งและจุดอ่อนของรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเส้นทางในการสืบสันตติวงศ์ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบันที่ๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก   เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี 1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 14ปี หลังจากที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกยกเลิกไป สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เกือบที่จะถูกครอบงำ ด้วยพลังและอำนาจทางการเมืองใหม่

    ในช่วงทศวรรษ 1960 กลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ ด้วยความร่วมมือกับกองทัพไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาสถานภาพฐานการเงินของราชวงศ์ ตลอดจนการสร้างความเคารพนับถือให้กับสถาบันพระมหากษัตรย์  ในปี 1973 และ 1992 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้ามาเพื่อยุติความรุนแรงทางทหารที่มีต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ชี้ขาดคนสุดท้ายในเวลาที่เกิดวิกฤติ

    ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นานับประการทั่วประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของพสกนิกรในท้องที่ทุรกันดาร ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่อุทิศพระองค์เพื่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน  สิ่งที่แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการที่พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มากที่สุดในโลก  สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่พระองค์ทรงคิดค้น ตลอดจนพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ ดนตรี และพระราชนิพนธ์   พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ดูเหมือนพระราชพิธีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการครองราชย์ ประชาชนเรือนล้านหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง  พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญจากทั่วโลกต่างก็เดินทางมาร่วมพระราชพิธีนี้เช่นกัน ดูเหมือนในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จของรัชสมัยไว้อย่างชัดเจน

    แต่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2006 ฝ่ายทหารได้ปฏิวัติ ทำรัฐประหาร เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน   ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นของการเลือกโดยสำนักพระราชวังในช่วงเวลาสี่ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัยกับการสนับสนุนในวงกว้าง ก็มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งกำลังอยู่ในจุดที่ตกต่ำลงทั้งในแง่ของความนิยมและความชอบธรรม

    สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงสั่งสมมาตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี? คำตอบจะเป็นสิ่งที่บอกเราได้มากถึงอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย  แม้ว่าจะไม่พิจารณาในประเด็นการสืบราชสมบัติ  กลุ่มพลังที่เป็นตัวแทนในการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นกลุ่มที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต   เมื่อประเด็นเรื่องการสืบราชสมบัติเกิดขึ้นในสภาวะที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความวิบัติได้ แต่ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯที่มีการครองราชย์มาอย่างยาวนานก็ถึงจุดที่จะต้องกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย โดยมีปัจจัยภายในหลายๆด้านทั้งที่ช่วยส่งเสริมและบั่นทอนการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นสถาบัน
    King's Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
    King’s Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.

    การเปิดเผยของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการตรวจสอบของสาธารณชน(มักเกี่ยวข้องกับการพูด) มีส่วนทำให้สถาบันมีความเข้มแข็งขึ้น  สภาองคมนตรีและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าถึงนักวิชาการในระดับหนึ่ง และสำนักพระราชวังเองก็ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชประวัติใหม่ที่ค่อนข้างสมดุลมากขึ้น ซึ่ง รวมไปถึงเรื่องต้องห้ามเดิมที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน  ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งปิด (เซ็นเซอร์ censor)บล๊อกและเวปเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ความลับทางการทูตจำนวนมากของ  Wikileaks ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่กลับไม่ได้ปิด สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์แนววิพากษ์วิจารณ์บางแห่ง เช่น บทความของ MacGregor Marshall เรื่อง  “Thailand’s Moment of Truth”  ข้อมูลงบประมาณของรัฐบาลเองเมื่อเร็วๆ นี้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับพระราชวงศ์ และค่าใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ถูกกระตุ้นโดยรายงานจากภายนอก อย่างเช่น นิตยสาร Forbes  ที่ได้รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมี  พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์

    แต่ถ้าจะมองเกี่ยวกับความสมดุลของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีหลายเหตุผลที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง  ประการแรก คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบุคคลบุคคลหนึ่งได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมของราชวงศ์ไทย  ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่พระองค์ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานหรือความพยายามในการประชาสัมพันธ์จากสำนักพระราชวังเองก็ตาม พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของบุคคลที่น่าเคารพบูชา แต่หากมองในด้านลบ  ยิ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะตัวบุคคลหรือพระราชกรณียกิจถูกนำเสนอมากเท่าไหร่ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น  ไม่น่าสงสัยแต่อย่างใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความนิยมในตัวของพระองค์ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องแปลไปสู่ความชอบธรรมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความจริงแล้วทางตรงกันข้ามอาจจะเป็นความจริงก็เป็นได้  อาจจะเป็นเรื่องดีที่คนไทยจำนวนมากมีความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ไม่มากไปกว่าการจงรักภักดีต่อรัชสมัยปัจจุบัน  สำนักพระราชวังประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน สร้างสถานะให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือมากขึ้น  และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของชาติ ซึ่งความสำเร็จประเภทนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้สืบทอดพระราชสมบัติองค์อื่นๆ

    ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนมักจะอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยราวกับว่า       ป็นสถาบันที่มีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และใช้ “สำนักพระราชวัง” เป็นเครื่องมือในลักษณะเดียวกันกับ ทำเนียบขาว หรือ White House  ของสหรัฐอเมริกา หรือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง )10 Downing Street)ของสหราชอา ณาจักร อุปมาเปรียบได้กับศูนย์กลางของอำนาจที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน      แต่คำอธิบายนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน

    ในความเป็นจริง มีกลุ่มอิทธิพลหลายกลุ่มที่มีผลต่อราชวงศ์ไทย   บ่อยครั้งที่มีการทับซ้อนกันและมีการจัดวาระการแข่งขัน ตลอดจนการแบ่งแยกที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน             รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่หวั่นไหวในเรื่องมุมมองความคิดเห็น การแบ่งศูนย์กลางของอิทธิพลจะมุ่งเน้นไปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะองคมนตรี

    หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ตามที่แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวไว้ พระองค์ก็จะทรงไม่สามารถหรือ ทรงไม่เต็มพระทัยที่จะควบคุมคนอื่นๆในสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการรัฐประหารได้  ตามที่ ข้อมูลลับทางการทูต wikileaks หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการการรัฐประหารที่เกิดขึ้น  นี่เป็นบางส่วนของสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) การเคลื่อนไหวพยายามจะขัดขวางและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยผู้สนับสนุนของพันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตรในปี 2008
    The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.
    The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.

    ในขณะที่บางคนแย้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงถูกกดดันจากกลุ่มรัฐประหารเพื่อลงพระนามรับรองในการทำรัฐประหารดังกล่าว แต่ไม่ใช่กรณีเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เมื่อพระองค์ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานศพของผู้ประท้วงพันธมิตรที่เสียชิวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    ประการที่ 3 การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  กฎหมายดังกล่าวค่อนข้างที่จะลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างน้อยในช่วงทศวรรษที่ 1990และช่วงต้นของทศวรรษที่2000  มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่เกิดขึ้น  ราชวงศ์ของยุโรปได้รับประโยชน์จากผลโพล (poll)ที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ของพวกเขา แต่สำหรับประเทศไทยด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การทำโพลเป็นไปไม่ได้ ทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังเป็นการกีดกันสถาบันพระมหากษัตริย์จากการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างถูกทำนองคลองธรรมในสภาพแวดล้อมที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน ตามเนื้อความของกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายจะปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะปกป้องสมาชิกอื่นๆ ของราชวงศ์สกุลนี้เช่นเดียวกัน

    ผู้เสนอกฎหมายได้พยายามที่จะขยายการคุ้มครองตามกฎหมายให้ถึงแม้กระทั่งสมาชิกของคณะองคมนตรี  ทุกคนสามารถทำให้ข้อกล่าวหากลายเป็นอาวุธที่แสนสะดวกเพื่อใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ส่วนตัวของกฎหมายเองก็มีความคลุมเครือในแง่ไม่ค่อยดีและศาลก็ได้ตีความไว้อย่างกว้างๆ

    ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา  ระหว่างปี 1992 และ 2004  จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี  2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
    The Royal Barge Procession in 2005.
    The Royal Barge Procession in 2005.

    สุดท้ายนึ้ยังคงมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนรูปภูมิทัศน์ทางการเมืองในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่  การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดท่ามกลางบรรยากาศสลัวของรัชสมัยปัจจุบัน คือ การพัฒนาจิตสำนึกทางด้านการเมืองการปกครองให้ลึกซึ้งและแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เครือข่ายกษัตริย์เข้าถึงการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2006  เช่นเดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านๆ มาในอดีด คือ การรัฐประหารได้รับการรับรองจากสถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้ก่อรัฐประหารให้เหตุผลแสดงความบริสุทธิ์ว่า การทำรัฐประหารนั้นทำเพื่อสาธารณชนโดยอ้างเรื่องการทุจริตของนักการเมืองและภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  หลังจากนั้นก็จะมีการนิรโทษกรรม และในที่สุดการทำรัฐประหารก็จะถูกลืมเลือนไป

    แต่ประชาชนกลุ่มใหม่ผู้ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองกลับไม่เคยลืมการทำรัฐประหาร  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) ยังคงมีการจัดระเบียบเพื่อที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากการทำรัฐประหารออกไป โดยสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นำประโยคที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมออกไปและดำเนินคดีผู้ทำรัฐประหาร และพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายหรือการพิจารณาคดีที่มาจากการทำรัฐประหาร การเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการตื่นตัว หรือ ตาที่เปิดขึ้น (ตาสว่าง)  ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการพูดปากต่อปากของผู้ประท้วง ปรากกฎการณ์ตาสว่างทำให้สายตาของพวกเขาเพ่งมองไปที่บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของสถาบันอย่างเต็มที่

    มีการแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบรหัสเฉพาะเพื่อที่จะหลบเลี่ยงการจับกุม การขับเคลื่อนในครั้งนี้ไม่มีภาพลวงอีกต่อไป จึงเห็นความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีกของสำนักพระราชวังเพื่อป้องกันอำนาจของกษัตริย์ที่เป็นที่นิยมผ่านศาลยุติธรรม คณะองคมนตรีและสมาชิกบางองค์ของราชวงศ์ แทนที่จะลืมการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในงานศพของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรในเดือนตุลาคม 2008 เหตุการณ์นี้กลับเป็นสิ่งที่ขุ่นเคืองสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และตั้งวันนั้นให้เป็นอนุสรณ์ว่าเป็น “วันตาสว่างแห่งชาติ” การออกมาเลือกข้างอย่างเปิดเผยของราชวงศ์ได้ถอดถอนความพยายามที่จะสื่อให้เห็นว่าสำนัก

    ระราชวังเป็นกลางซึ่งความรู้สึกด้านลบของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงยิ่งสูงขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลือกที่จะไม่แทรกแซงเมื่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 เหนือกว่าสิ่งอื่นใด การตัดสินใจในการร่วมงานศพของกลุ่มพันธมิตรในปี 2008และไม่ไปร่วมงานศพของกลุ่ม นปช.ในปี 2010 ถือว่าเป็นจุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดี  การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสำนักพระราชวังในการทำรัฐประหาร การปรากฎตัวแบบเลือกข้างของสมาชิกราชวงศ์ในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง  การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการตระหนักถึงเรื่องความมั่งคั่งของราชบัลลังก์ ได้ทำให้ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นลดลงและเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต

    แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 อาจจะเป็นการที่สำนักพระราชวังไม่สามารถที่จะนำเสนอแผนของการสืบราชสันตติวงศ์ในแง่บวก แทนที่จะทรงสละราชสมบัติ ตามที่พระองค์ได้เคยพิจารณาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จากการที่ทรงเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะยังคงอยู่ในพระราชบัลลังก์ต่อไป ในปี 1972 ทรงสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เนื่องจากพระพลานามัยของรัชกาลที่ 9 ที่แย่ลงในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเจ้าฟ้าชายนั้นกลับล้มเหลว อีกทั้งความขัดแย้งในสำนักพระราชวังก็เพิ่มขึ้น แผนการสืบต่อราชสันตติวงศ์อีกแผนหนึ่งจึงปรากฎขึ้น  ด้วยที่ผ่านมาในความทรงจำของประเทศไทยยังไม่เคยมีการขัดแย้งในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์  จึงทำให้มีช่องว่างที่ปรับเปลี่ยนได้ทางกฎหมายมากพอสำหรับการจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับคณะองคมนตรีที่อาจจะเข้ามาจัดการในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่่รัชกาลถัดไป 1

    กรณีตัวอย่าง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรีและประธานองคมนตรีก็จะมีความคลุมเครือ และอาจจะถูกตีความได้ว่าพลเอกเปรมจะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากเสด็จสวรรคต และการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเขาอาจจะสามารถปรับปรุงกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์ปี 1924 ได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่ช่วยให้คณะองคมนตรีสามารถที่จะกำหนดพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ต่างออกไปได้ ซี่งมีข้อสันนิษฐานว่า จะเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรืออาจจะส่งชื่อผู้สืบราชสันตติวงศ์ไปยังรัฐสภาเพื่อการพิจารณาล่าช้า ในช่วงที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้อย่างแน่นอน  หรือถ้าทั้งหมดล้มเหลว การทำรัฐประหารอาจจะอยู่ในลำดับต่อไป โดยอ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารอาจจะยกเลิกรัฐสภาและอนุญาตให้กองทัพมีสิทธิ์ที่จะเสนอพระนามผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ หรืออย่างน้อยก็ให้สามารถชะลอกระบวนการดังกล่าวได้  หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงจัดวางพระองค์เองให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระประชวร และยังทรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคตไปแล้ว

    ไม่มีแผนการใดเลยที่ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมมากขึ้น  มีเพียงแผนการเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วย นั่นก็คือ การที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในลำดับถัดไป และทรงปรับปรุงพฤติกรรมของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อเครือข่ายกษัตริย์ (monarchy network) และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนครองราชย์ตามระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่อื่นๆในโลกปัจจุบัน ส่วนแผนการอื่นๆจะนำไปสู่ความหายนะไม่ว่าจะเป็นความพยายามของคณะองคมนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งอาจจะป็นการล้างความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้พลเอกเปรม หรือ สมเด็จพระราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่จุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด

    สุดท้ายนี้ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องความชอบธรรมตามกฎหมาย รัชกาลในปัจจุบันได้มีการปลูกฝังชุดค่านิยมและความสนใจซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และก้าวต่างไปจากระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก  สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางการแถลงการณ์และการกระทำต่างๆ  สิ่งนี้สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้อนุญาตให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกกีดกันให้ยังคงใช้ได้อยู่ และสิ่งนี้อยู่อย่างใกล้ชิดมากเกินไปกับการจัดวาระอย่างสุดขั้วของกลุ่มผู้จงรักภักดีในราชวงศ์แบบสุดโต่ง สิ่งนี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันโดยมีการเปรียบเทียบกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จตามอย่างได้  ในที่สุด ด้วยการเตรียมตัวที่ไม่พร้อม ทำให้เกิดแม้กระทั่งคำถามเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ที่กำลังมีภัยเพราะเต็มไปด้วยทางเลือกอื่นที่ล้วนล่อใจแต่อันตราย   สรุปได้ว่า สิ่งนี้ล้มเหลวที่จะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่เส้นทางที่ดำเนินควบคู่ไปกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย ในประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัชสมัยนี้ กำลังจะส่งมอบสถาบันหนึ่งซึ่งกำลังอ่อนแรงและแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เป็นมรดกแก่ผู้สืบทอด พร้อมๆ กับหนทางที่ไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างไร

    David Streckfuss
    University of Wisconsin-Madison
    อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย – Kyoto Review of Southeast Asia

    Mendewakan
    Foto ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม.Foto ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม.Foto ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม.Foto ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม.
    พระมหากษัตริย์กับกองทัพไทย

    ต่อมาในระยะหลัง เมื่อกิจการทหารในกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง ศัตรูก็ขาดความยำเกรง ผู้ที่เคยสวามิภักดิ์กลับ คิดแข็งเมือง ทำให้ประชาชนเริ่มหวั่นไหวและมีชีวิตอยู่อย่างขาดความสงบสุข ในที่สุด พระเจ้าธรรมราชาลิไทย จึงตัดสินพระทัยยอมเป็นบ้านพี่น้องกับกรุงศรีอยุธยาแต่สภาพของความเป็นบ้านพี่เมืองน้องดำเนินอยู่ได้ไม่นานก็ต้องยอมลด ฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา โดยมีสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือ เจ้าสามพระยา ปรากฎว่าไม่มี ราชวงศ์ พระร่วงพระองค์ใดที่จะสามารถปกครองสุโขทัยต่อไปได้ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ ให้พระราเมศวร ราชโอรส ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชขึ้นไปครองหัวเมืองเหนือ ทั้งปวง โดยประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก นับจากเวลานั้นเป็นต้นมา อาณาจักรทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ก็ถูกรวบรวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น กิจการด้านการทหารและการปกครอง ยังคงใช้ระบบเดียวกับสมัยสุโขทัย กล่าวคือ มีกรุงศรีอยุธยาราชธานีเป็นแกนกลาง มีเมืองหน้าด่านอยู่สี่ด้าน และเมืองชั้นนอกซึ่งให้ปกครองกันเอง ครั้นเกิดศึกสงคราม พระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่จอมทัพ ส่วนไพล่พลก็ได้มาจากการเกณฑ์ชายไทยทุกคนในเขตเมืองชั้นในเข้าเป็นทหาร ใช้การรบบนพื้นดิน หลังม้า และหลังช้างเป็นหลัก 

    ครั้งล่วงมาถึงรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ทรงโปรดให้ทำการปรับปรุงด้านระเบียบแบบแผนและอาวุธยุฑโธปกรณ์ ให้ก้าวหน้าไปตามยุคสมัย อันนำ ไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการทหารด้วย โดยทรงกำหนดให้ตั้งทำเนียบหน้าที่ กรม กอง ทำเนียบศักดินา และจัดทำทำเนียบหัวเมืองขึ้น โดยแบ่งหน้าที่ราชการ ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา ตรวจตราราชการฝ่ายทหารทั่วพระราชอาณาจักร มีแม่ทัพใหญ่รองลงมา ๒ ตำแหน่ง คือ ออกญาสีหราช เดโช ( แม่ทัพฝ่ายขวา ) และออกญาสีหราชเดโชท้ายน้ำ ( แม่ทัพฝ่ายซ้าย ) ทั้งยังมีแม่ทัพรองประจำเมืองที่สำคัญ และได้กำหนดตำแหน่งที่สำคัญไว้อีก ๒ ตำแหน่ง คือ นายพลทหารช้าง กับนายพลทหารราบ อีกฝ่ายหนึ่งคือ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายก เป็นหัวหน้าควบคุมบังคับบัญชา โดยมีเสนาบดี ๔ คน ช่วยบัญชาการ เรียกว่า จตุสดมภ์ แม้จะมีการแยกอำนาจฝ่ายทหารออกจากฝ่ายพลเรือน แต่เมื่อถึงยามสงครามทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนต้องเข้าประจำการตามทำเนียบกองทัพที่เตรียมไว้ในยามปกติ โดยยังคงใช้หลักการให้ชายฉกรรจ์ชาวไทยต้องเป็นทหารทุกคน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทยเข้าสู่สงครามต่อสู้กับพม่ามาโดยตลอด จนบางครั้งถึงขั้นเพลี้ยงพล้ำต้องเสียกรุง และจากการที่ต้องรบทัพจับศึกอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไทยจึงต้องสูญเสียไพล่พลไปในการสู้รบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    เมื่อสมเด็จพระเอกาทศรถขึ้นครองราช พระองค์จึงทรงมีความจำเป็นต้องยอมรับชาวต่างชาติที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในราชธานีเป็นทหารอาสา และได้ดำเนินการเช่นนี้สืบต่อมาถึง รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยโปรดให้จัดเป็นกรมอาสาต่าง ๆ ขึ้น เช่นกรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน และทหารประจำปืนราชบรรณาการ เป็นต้น ครั้งถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชาทหารต่างชาติได้ก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จนไทยเกือบจะเสียทีแก่ฝรั่งต่างชาติ แต่ในที่สุด ไทยสามารถบังคับให้ทหาร ฝรั่งเศส ออกไปนอกประเทศได้ หลังจากนั้นมา กิจการทหารก็เริ่มเสื่อมถอยลง เนื่องจากเกิดความหวาดระแวงกันเอง และขาดความไว้วางใจในหมู่ข้าราชการจนนำไปสู่การ แบ่งแยกการปกครองระหว่างสมุหนายกกับสมุหกลาโหม ออกจากกันอย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เพื่อถ่วงดุลอำนาจระหว่างกันการเสื่อมถอยของพลังอำนาจทางทหารปรากฎเด่นชัด ขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และได้เสื่อมลงถึงที่สุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ จนถึงขั้นเสียกรุงครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ แต่นับเป็นความโชคดีที่พระยา ตาก( สิน ) หรือพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชร ทรงกู้ชาติได้สำเร็จ และทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีแล้วทรงปกครองประเทศสืบต่อมาโดยทรง พระ นามว่า พระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์โปรดให้ทำการปรับปรุงระบบทหารที่เสื่องลงไป จนเจริญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

    พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ อันเป็นการนำมาสู่การเริ่มต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังไม่พ้นจากการรุกรานของพม่าข้าศึกได้ ทั้งยังเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ สงครามครั้งนี้แม้ทัพข้าศึกจะมีกำลังมากกว่าแต่กองทัพไทย ก็สามารถต้านทานได้จน ข้าศึกต้องปราชัยไป และนับแต่นั้นมาพม่าก็ไม่ได้ยกทัพ มารุกรานไทยอีกเลยแสดงให้เห็นถึง พระอัฉริยภาพและพระปรีชา สามารถในด้านการทัพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท อย่างแท้จริง

    นับตั้งแต่รัชกาลที่ ๒ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นมา ประเทศไทยไม่ต้องเผชิญกับการรบทัพจับศึกเช่นในสมัย กรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป พระมหากษัตริย์จึงทรงมีเวลาทนุบำรุงบ้านเมืองในด้านต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการทหาร ดังปรากฎว่านอกจากการสร้างป้อมปราการและการสร้างเมืองป้องกันข้าศึกทางทะเลแล้ว ยังมีการริเรี่มทำการฝึกทหารแบบ ตะวันตก เนื่องจากในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ประเทศไทยเรี่มมีการติดต่อกับชาวต่างชาติอีก ครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์ไทยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พ่อค้าต่างประเทศจัดหาปืนใหญ่และปีนเล็กมาไว้ใช้ในกองทัพ ไทย โดยทรงให้ผลประโยชน์ตอบแทน อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้กัปตันแฮน ชาวอเมริกัน ผู้ถวายปีนคาบศิลา จำนวน ๕๐๐ กระบอก แก่ทางราชการ เป็น "หลวงภักดี" เป็นต้น นอกจากด้านอาวุธแล้วยังโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร ด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ อาทิ ด้านเครื่องแต่งกายทหาร โปรดให้แต่งเครื่องแบบทหารซีปอย เป็นต้น

    ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการปรับปรุงด้านกิจการทหารเพี่มเติม อาทิ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดหน่วยทหารราบและทหารปืนใหญ่ขึ้นเป็นหน่วยประจำการ ตลอดจนโปรดให้มีการฝึกหัด ทหารซีปอย เพื่อจัดเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์และ สร้างป้อมปราการเพี่อรักษาปากน้ำสำคัญไว้ เนื่องจากในห้วงเวลานั้น สงครามสมัยใหม่ ได้คุกคามเข้าสู่ทวีปเอชีย นั้นคือ การ ล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก โดยมีการแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่ภาคพื้นตะวันออก และการดำเนินการดังกล่าวเรี่มทวีความ รุนแรงขึ้นทุกขณะ จนหลายประเทศต้องยอมพ่ายแพ้แก่กองทัพอันแข็งแกร่งของอังกฤษ ซึ่งพยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือประเทศทางตะวันออก

    เมื่อชาวตะวันตกเผยแพร่อารยธรรมเข้าสู่ประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยอมรับด้วยดีโดย ทรงคัดเลือกเฉพาะสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง และทรงนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย พร้อมกันนั้น ก็ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าไปตามวิวัฒนาการของโลก ตลอดจนพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จ้างชาวยุโรปและชาว อเมริกันเข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ ด้วย สำหรับด้านการทหารนั้น ก็โปรดให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากแบบโบราณมาเป็นแบบ ชาติตะวันตก โดยทรงแยกเป็นทหารวังหลวง กับทหารวังหน้า เป็นการส่งเสริมกองทัพไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งยังโปรดให้จ้างครู ชาวอังกฤษ ๒ คน คือ ร้อยเอก อิมเปย์ กับร้อยเอก โธมัส ยอร์ช น๊อก มาทำการฝึกสอนทหาร ตลอดจนโปรดให้จัดตั้ง " กรมทหารน่า " ซึ่งเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกอย่างยุโรปขึ้นด้วย

    จนถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่ทรงสน พระราชหฤทัยด้านการทหารมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเด็กในพระบรมมหาราชวัง ฝึกด้านการ ทหารตามยุทธวิธีอย่างใหม่ แล้วโปรดให้เรียกว่า " ทหารมหาดเล็กไล่กา "ในชั้นต้นมีประมาณ ๑๒ คน ต่อมา ได้รับการพัฒนาไปสู่ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ จึงมีการจัดตั้งเป็นกรมทหารมหาดเล็กขึ้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้กรมทหารมหาดเล็กนี้เองเป็นแกนกลาง ในการขยายกำลังรบ และเป็นจุดกำเนิดของโรงเรียน นายร้อยทหารบก สำหรับโรงเรียนนายร้อยทหารบกนั้น ทรงพระกรุณาโปรด เกล้า ฯ ให้เปิดโรงเรียนเมื่อ ๕ ส.ค.๒๔๓๐ โดยในระยะแรกของการจัดตั้ง ให้ชื่อว่า คเด็ตสกูล ปัจจุบันได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาติจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ใช้ชื่อว่า " โรงเรียน นายร้อยพระจุลจอมเกล้า " 

    สถาบันแห่งนี้ ได้ผลิตนายทหารออกมารับใช้แผ่นดิน และสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยได้ทำความรุ่งเรืองให้ประเทศชาติมาเป็นเวลายาวนานเกินกว่าหนึ่งศตวรรษ แล้วด้วยพระเนตรอันยาวไกลของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการปรับปรุงกิจการทหารมาโดยลำดับ ประกอบกับการดำเนินวิเทโศบาย ที่ชาญฉลาด กอรปด้วยวิสัยทัศน ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เสด็จประพาสยุโรป เพื่อทรงดำเนินทางพระราชไมตรีกับประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น โดยเฉพาะรัสเซีย จึงช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก ในสงครามล่าอาณานิคม ในขณะที่ประเทศรอบบ้านไม่มีประเทศใดรอดพ้นจาก การเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกไปได้เลยผ่านจากยุคล่าอาณานิคม ไทยได้ก้าวเข้ามาสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในการสงครามนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงประกาศศักดิ์ศรีของชาวไทยให้ชาวโลกได้ประจักษ์ ด้วยการตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมันนี และออสเตรีย - ฮังการี เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม๒๔๖๐ หลังจากวางตัวเป็นกลางรอดูท่าทีที่ชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มสงคราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ การเข้าสู่สงครามของทหารไทย ได้นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ ทำให้ชาติสัมพันธมิตร ในยุโรปรู้จักประเทศไทยดีขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสอันดีของทหารไทย ที่จะได้มีประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานในสนามรบสมัยใหม่ด้วย นอกจากนั้น ประโยชน์ ประการสำคัญที่ได้รับหลังสงครามสิ้นสุดลงก็คือ ชาติต่างๆ ในยุโรป ๑๓ ประเทศ ที่เคยทำสัญญาผูกมัดไทยไว้ ยอมแก้ไขสัญญาที่ทำไว้แต่เดิม โดยเฉพาะการยกเลิก อำนาจศาลกงศุล ให้คนต่างชาติมาขึ้นศาลไทย ทำให้ไทยได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมา

    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้การสนับสนุน ด้านการทหารอย่างต่อเนื่อง ด้วยทรงเห็นว่า การทหารเป็นเรื่องที่จะละเลยเสียมิได้เป็นอันขาด ประกอบกับพระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยทางด้านการทหาร มาตั้งแต่ยัง ทรงพระเยาว์ จึงทรงปรารถนาที่จะเห็นกิจการทหารทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือ ( ขณะนั้นยังไม่มีกองทัพอากาศ ) มีความเจริญทัดเทียมชาติอื่น จะได้เป็นส่วนสำคัญใน การป้องกันราชอาณาจักรสืบไป

    จากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ทรงดำเนินการอะไรได้ไม่มากนัก นอกจากนั้นยังถูกซ้ำเติมด้วยภาวะวิกฤติทางเศรษกิจ อันเป็นผล กระทบจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ และมิใช่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังได้เกิดการปฏิวัติโดย " คณะราษฎร " เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาสู่ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วย ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง กิจการทหารได้รับผลกระทบตามสมควร กล่าวคือ มิใช่เพียงการปรับปรุงอัตรา การจัดระเบียบกรมยุทธศึกษาทหารบกใหม่ ส่งผลให้เมื่อเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสขึ้น เมื่อเดือนมกราคม ๒๔๘๔ กองทัพบก ต้องพิจารณาเตรียมปรับกำลังและขยายกำลังมากขึ้น พร้อมกับพิจารณานายทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดที่ยังขาดอัตราอยู่ให้ครบ โดยระดมนายดาบมาทำหน้าที่ผู้บังคับ หมวดนอกจากนั้นยังต้องให้นักเรียนนายร้อยทหารบก และนักเรียนเทคนิคทหารบก บางรุ่นสำเร็จการศึกษาก่อนเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ครั้นสงครามยุติโดยการไกล่ เกลี่ย กองทัพสนาม ที่จัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกิจก็สลายไปตัวตามไปด้วย ส่วนกำลังหลักจากหน่วยต่าง ๆ ได้กลับคืนสู่กรมกอง อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการดำเนินการปรับปรุง ด้านอัตรากำลังต่อไป เพื่อให้รับกับการขยายกำลังของกองทัพในส่วนต่าง ๆ โดยกานเร่งผลิตนายทหารจากหลักสูตรต่าง ๆ ที่เปิดทำการสอนอยู่แล้วแม้กระนั้น ก็ยังไม่เป็น การเพียงพอ

    อ่านต่อลิงก์ต่อไปค่ะ

    เอกสารอ้างอิง หนังสือ บก.ทหารสูงสุด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับกองทัพไทย ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒

    พ.อ. สงบ แก้วเทศ ผู้จัดทำ webpage
    ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม - Siaran
    Foto ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม.
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของปีนั้น ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ในพระราชพิธีฯ ว่า

    “พรรณพฤกษ ชลธีแลสิ่งของในแผ่นดิน ทั่วเขตรพระนคร ซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้น ตามแต่สมณชีพราหมณาจารย์ราษฎรจ่ปรารถนาเถิด”

    ภาพฉายโดยนายจอห์น ทอมสัน ช่างภาพชาวสก๊อตแลนด์

    Credit : S. Phormma's Colorizations
    ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม - Siaran

    กษัตริย์ไทยองค์แรกที่ศึกษาต่างประเทศ

    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบรมวงศานุวงศ์และบุตรของขุนนางข้าราชการ ต่างไปศึกษายังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชาทหารที่ประเทศอังกฤษ ส่วนสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ต้องทรงศึกษาราชการอย่างใกล้ชิดกับพระราชบิดา เพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อไป
    เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์ตส์    เมื่อสำเร็จแล้วจึงเข้ารับราชการในกรมทหารราบ เบาเดอรัมได้รับการถวายยศร้อยตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ ทรงใช้ชีวิตอย่างทหารทั่วไปคนหนึ่ง เพื่อหาประสบการณ์ก่อนกลับประเทศ
    แต่แล้วในวันศุกร์ที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ก็เสด็จทิวงคตด้วยพระโรค ไข้รากสาดน้อย ขณะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงมีพระราชโทรเลขไปถึงเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เมื่อ วันที่ ๑๗ มกราคม นั้น ว่า
    ถึง เจ้าฟ้าวชิราวุธ ลูกผู้เปนที่รักอย่างยิ่ง
          เจ้าได้รับตำแหน่งมงกุฎราชกุมารแลรัชทายาทโดยการประชุมใหญ่ในเวลานี้แล้ว ด้วยเดชะผลแห่งความเลื่อมใสในพระรัตน ไตรย แลความรักใคร่ของบิดามารดา จงให้มีความเจริญ ตั้งมั่นอยู่ในอิศริยยศอันใหญ่นี้ยั่งยืน  ได้บำรุงรักษาวงศ์ตระกูลกับทั้งพระ ราชอาณาเขต   แลบำรุงราษฎรให้อยู่เย็นเปนศุขสืบไป  ขอให้รู้สึกว่าเปนผู้ซึ่งจะต้องรับภาระอันหนัก เพื่อประชุมชนทั้งหลายแล้วแลอุสาหเล่าเรียนวิชาการอันสมควรแก่ตำแหน่งนั้นโดยฉันทะวิริยอันแรงกล้า ให้สำเร็จดังประสงค์ทุกประการเทอญ
    ซึ่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯพระองค์ใหม่ ก็ได้มีพระโทรเลขตอบในวันนั้นว่า
          “ข้าพระพุทธเจ้า  ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณารับพระพรอันมงคลไว้เหนือเกล้าฯ แลขอพระราชทานปฏิญาณไว้ ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะอุสาหความยากลำบาก  ที่จะเล่าเรียนศึกษาวิชาการทั้งปวง จนให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนคนสมควรที่จะนับได้ว่า เปนลูกผู้ที่จะฉลองพระเดชพระคุณในทูลหม่อมในสมเด็จป้า แลในเสด็จแม่ โดยเสมอภาคเท่ากันหมด โดยความซื่อตรงด้วย”
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเสมอใจราช  (ทองดี โชติกเสถียร)   เป็นข้าหลวง เชิญประกาศสถาปนาพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ออกไปถวายพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า สวัสดิโสภณ เพื่อประกอบพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขึ้นที่สถานทูตไทยประจำกรุงลอน ดอน ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทำพระราชพิธีนี้ในต่างประเทศ
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  ได้เข้าศึกษาต่อในวิชาประวัติศาสตร์ และกฎหมายที่วิทยาลัยไครสต์เชิช  ในมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เพื่อเตรียมพระองค์ขึ้นครองราชย์ และเสด็จกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ รวมเวลาศึกษาอยู่ในอังกฤษถึง ๙ ปี 
    พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงประกาศเจตนารมณ์อย่างชัดแจ้ง ที่จะมี   “ผัวเดียวเมียเดียว” ตามแบบอย่างอารยประเทศ

    กษัตริย์ไทยองค์แรกที่ศึกษาต่างประเทศ

    สถาบันกษัตริย์ของไทยเด่นเป็นสง่าในบรรดาราชวงศ์ในอุษาคเนย์

    27 พฤศจิกายน 2016
    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
    GETTY IMAGES
    โดย ดร. เหงวียน วัน ฮุย (Dr Nguyen Van Huy)
    ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถาบันกษัตริย์ของไทยมีความพิเศษยิ่ง ราชวงศ์ของไทยยั่งยืนยาวมาเกือบ 300 ปี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2263 ส่วนราชวงศ์อื่น ๆ ไม่ว่าในเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า อินโดนีเซียและมาเลเซีย ไม่มีราชสำนักใดที่จะมีอายุยืนยาวเท่านี้ แม้ว่าจะใช้ความพยายามกันในทุกที่แต่ไม่มีที่ไหนที่มีความรุ่งโรจน์อย่างที่ราชวงศ์ของไทยมี และในวันนี้นอกไปจากประเทศไทยแล้ว กัมพูชาและบรูไนนับเป็นอีกสองประเทศเท่านั้นที่ยังคงมีสถาบันพระมหากษัตริย์
    กัมพูชา
    แม้จะยังใช้ชื่อว่าเป็น ราชอาณาจักรกัมพูชา แต่สถาบันกษัตริย์ของกัมพูชาในวันนี้ มีอยู่แต่ในนามเท่านั้น อำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือของบุคคลคนเดียวนั่นคือ ฮุนเซ็น ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2528 หรือ 31 ปีมาแล้ว และยังไม่มีเค้าว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในอีกสองสามปีข้างหน้านี้

    พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุImage copyrightAFP
    คำบรรยายภาพพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงเป็นกษัตริย์กัมพูชาถึง 50 ปี

    ที่จริงแล้ว ฮุนเซ็นต้องการจะสานต่อบทบาทของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (ซึ่งทรงเป็นกษัตริย์กัมพูชาถึง 50 ปี ระหว่างปี 2498 - 2547) และดำรงอำนาจราชวงศ์ให้เป็นผู้นำกัมพูชาไปอีกนาน ทั้งลูกชายและญาติพี่น้องของเขาได้รับการสนับสนุนให้เข้าดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในหน่วยงานต่าง ๆ ของพรรค รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคง ถ้าไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะทำให้เกิดการพลิกผัน ตระกูลของฮุนเซ็นก็คงจะกลายเป็นราชวงศ์ในรูปแบบใหม่ของการเมืองกัมพูชาในช่วงหลายปีข้างหน้านี้
    แล้วเกิดอะไรขึ้นกับราชวงศ์นโรดม พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหมุนีอันที่จริงเป็นเพียงหุ่นเชิด ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ทั้งที่ไม่ทรงต้องการ พระองค์เองทรงเป็นศิลปินและผู้ศึกษาด้านวัฒนธรรม ทรงต้องการเพียงจะใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศสในฐานะเป็นนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวัฒนธรรมเขมรมากกว่าที่จะเป็นกษัตริย์หุ่นเชิด แต่ทรงถูกฮุนเซ็นกำราบเสียอยู่หมัดตั้งแต่เมื่อปี 2540 ในขณะที่ญาติพี่น้องในเชื้อสายราชวงศ์นโรดมต่างก็มีความสุขกับชีวิตอันสงบและสิ่งที่ต่างคนมีอยู่ ไม่มีใครอยากจะไปแข่งขันกับ "ราชา" ฮุนเซ็นแต่อย่างใด

    สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ พระราชาธิบดีบรูไนImage copyrightGETTY IMAGES

    บรูไน
    บรูไนเป็นราชอาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีพื้นที่เพียง 5,765 ตารางกิโลเมตรและประชากร 436,000 คน ภายใต้การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชของสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ พระราชาธิบดี บรูไนเป็นประเทศปิดสำหรับโลกภายนอก แต่อยู่ได้เพราะมีแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งทะเลในทะเลจีนใต้ จากข้อมูลของนิตยสารฟอร์บ สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ทรงเป็นหนึ่งในบุคคลที่จัดว่าร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ลาว
    ทุกวันนี้พระราชวังหลวงพระบางยังได้รับการทำนุบำรุงให้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นสถานที่สำหรับนักท่องเที่ยว สถาบันกษัตริย์ของลาวปกครองประเทศในเวลาที่สั้นที่สุดในเอเชียคือ 30 ปี จากปี 2488 - 2518 ที่จริงแล้วสถาบันกษัตริย์ของลาวน่าจะถือได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในจินตนาการก็คงจะว่าได้เพราะว่าไม่เคยมีอำนาจอย่างแท้จริง ในช่วงที่ฝรั่งเศสปกครอง (2488 -2498) ฝรั่งเศสเป็นผู้ตัดสินใจทุกอย่าง ถัดมาก็เป็นเวียดนามและสหรัฐฯในช่วงของสงครามหนที่สองของอินโดจีน (2503-2518) ปี 2498 ถึง 2503 เป็นช่วงเวลาที่สองพี่น้องคือเจ้าสุวันนะพูมาที่ยืนอยู่ข้างอเมริกัน กับเจ้าสุภานุวงศ์ที่อยู่ข้างฮานอยขับเคี่ยวกันหนักเพื่อแย่งชิงอำนาจ มาวันนี้เชื้อสายของราชวงศ์ลาวกระจายตัวกันอยู่ในหลายประเทศ พวกเขายังคงแตกแยกและขัดแย้งกันไม่ต่างไปจากในอดีต
    เวียดนาม
    ราชวงศ์เหงวียนของเวียดนามไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีไปกว่าราชวงศ์ของลาวเท่าใดนัก พวกเขาสูญเสียอำนาจที่แท้จริงไปในปี 2427 แม้ว่าราชวงศ์เหงวียนจะยังคงดำรงอยู่จนถึงช่วงที่กษัตริย์เบ๋าได๋ทรงประกาศสละราชสมบัติในปี 2488 ก็ตาม
    หลังจากปี 2497 รัฐบาลคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือได้ขจัดทุกอย่างที่ยังเป็นอิทธิพลหลงเหลือของระบบกษัตริย์ แต่ในเวียดนามใต้ หลายคนที่เป็นบุคคลสำคัญภายใต้กษัตริย์บ๋าวได๋ยังรักษาบทบาทในส่วนของทหารและรัฐบาลเอาไว้ได้ ทว่าหลังวันที่ 30 เม.ย.2518 ทั้งหมดนั้นก็ปิดฉากลงเมื่อกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ยึดประเทศได้ทั้งหมด สิ่งที่ยังคงหลงเหลืออยู่ของราชวงศ์เหงวียนยังคงเห็นได้ก็เฉพาะในสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมและพิธีการในการรับประทานอาหารเท่านั้น

    กษัตริย์เบ๋าได๋Image copyrightGETTY IMAGES
    คำบรรยายภาพกษัตริย์เบ๋าได๋ ทรงประกาศสละราชสมบัติในปี 2488 [1945]

    มาเลเซีย
    สหพันธรัฐที่ประกอบไปด้วยรัฐต่าง ๆ 13 รัฐและดินแดนอีก 3 แห่ง มีสถาบันกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของระบบสหพันธรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ได้รับการคัดเลือกจากบรรดาผู้ปกครองที่สืบทอดกันมาของรัฐต่าง ๆ 9 รัฐ และกษัตริย์ดำรงตำแหน่งนาน 5 ปี ในความเป็นจริงเราไม่น่าจะถือว่าสถาบันกษัตริย์ของมาเลเซียเป็นสถาบันกษัตริย์ที่แท้จริงเนื่องจากไม่ได้มีการสืบทอดสันตติวงศ์กันทางเชื้อสาย และสถาบันเป็นเพียงสัญลักษณ์ ไม่มีใครมีอำนาจแท้จริงเหนือทั้งประเทศ
    เมียนมา
    พม่าเคยเป็นอาณาจักรที่มีอำนาจมากของคนเชื้อสายพม่าหรือบะมาร์ แต่อ่อนแอลงและแตกออกเป็นอาณาจักรย่อยสองอาณาจักร จากศตวรรษที่ 10 ชาวพม่าสร้างอาณาจักรที่รุ่งเรืองรอบ ๆ แม่น้ำอิระวดี โดยอยู่ระหว่างพื้นที่อิทธิพลของจีนและอินเดีย แต่เพราะไม่ปฏิรูป อาณาจักรพม่าจึงพลาดท่าให้กับอังกฤษพ่ายแพ้ในสงคราม พ.ศ. 2367 พื้นที่ของพวกเขาหดเล็กลงและสูญเสียให้กับอังกฤษใน พ.ศ. 2429 ตั้งแต่นั้นสถาบันกษัตริย์ของพม่าก็สูญสิ้นพระราชอำนาจไปให้กับบรรดาขุนศึกที่พากันผุดโผล่ขึ้นครองอำนาจในแทบทุกพื้นที่
    สรุป
    การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชก่อให้เกิดภาวะสุญญากาศในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะบทบาทอันโดดเด่นของพระองค์รวมทั้งการที่ทรงเป็นสะพานเชื่อมระหว่างรัฐบาลกับประชาชน จะมีใครที่จะมีพระบารมีอย่างเช่นพระองค์ในอันที่จะช่วยรักษาสมดุลระหว่างการเมืองและผลประโยชน์ของประชาชนได้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้

    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชImage copyrightAFP

    ในวันนี้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้เป็นทางออกสำหรับการปกครองในประเทศต่าง ๆ อีกต่อไป แต่ทว่าก็ยังสามารถจะเป็นสัญลักษณ์ที่ "ช่วย" ได้ในทางการเมือง เนื่องจากว่าสถาบันไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริง ตำแหน่งจึงอาจจะเป็นเพียงเรื่องของจินตนาการ แต่ก็ยังถือได้ว่าจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงความอลหม่านหรือสงครามกลางเมืองในประเทศ
    ดร. เหงวียน วัน ฮุย เป็นนักวิชาการอิสระด้านชาติพันธุ์ ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส
    สถาบันกษัตริย์ของไทยเด่นเป็นสง่าในบรรดาราชวงศ์ในอุษาคเนย์ - BBC News บีบีซีไทย

    สุดยอดพระมหากษัตริย์ไทย อยุธยา
    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลกมีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช, พระนเรศ, องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช มาเป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 สิริรวมการครองราชสมบัติ 15 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 รวมพระชนมพรรษา 50 พรรษา
    ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ

    ขณะทรงพระเยาว์

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
    ขณะที่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกในสงครามช้างเผือก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดีจึงทำให้เมืองพิษณุโลกต้องเป็นเมืองประเทศราชของกรุงหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระสุพรรณกัลยาและพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีใน พ.ศ. 2107 ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ประทับอยู่กรุงหงสาวดี 8 ปี เสด็จกลับกรุงอโยธาพระชนมายุ 17 พรรษา พ.ศ. 2115
    ครั้งที่อยู่ในเมืองหงสาวดีก็ได้แสดงความปรีชาสามารถให้ปรากฏหลายต่อหลายครั้ง

    ปกครองเมืองพิษณุโลก

    หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้หนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาโดยที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยินยอมอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาทรงขอไว้ เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2115 สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชทานนามให้พระองค์ว่า "พระนเรศวร" และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช พระชนมายุ 17 พรรษา ไปปกครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยา
    การที่ได้เสด็จไปประทับอยู่หงสาวดีถึง 8 ปีนั้น ก็เป็นประโยชน์ยิ่งเพราะทรงทราบทั้งภาษา นิสัยใจคอ ตลอดจนล่วงรู้ความสามารถของพม่า ซึ่งนับเป็นทุนสำหรับคิดอ่านเพื่อหาหนทางในการต่อสู้กับพม่า เมื่อพระเจ้าหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาได้นั้น อ้างว่าข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชา จึงต้องถอนข้าราชการเมืองเหนือที่เคยใช้สอยลงมารับราชการในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนข้าราชการทางเมืองเหนือบกพร่องจึงต้องหาตัวตั้งขึ้นใหม่   พระองค์ทรงขวนขวายหาคนสำหรับทรงใช้สอยโดยฝึกทหารที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันตามวิธียุทธ์ของพระองค์ทั้งสิ้นและนับเป็นกำลังสำคัญของพระนเรศวรในเวลาต่อมา

    การตีกรุงศรีอยุธยาของเขม

    เมื่อปี พ.ศ. 2113 พระยาละแวกหรือสมเด็จพระบรมราชา กษัตริย์เขมร ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาก่อนตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เห็นกรุงศรีอยุธยาบอบซ้ำจากการทำสงครามกับพม่าจึงถือโอกาสยกกองทัพเข้ามาซ้ำเติมโดยมีกำลังพล 20,000 นาย เข้ามาทางเมืองนครนายก เมื่อมาถึงกรุงศรีอยุธยาได้ตั้งทัพอยู่ที่ตำบลบ้านกระทุ่มแล้วเคลื่อนพลเข้าประชิดพระนครและได้เข้ามายืนช้างบัญชาการรบอยู่ในวัดสามพิหาร รวมทั้งวางกำลังพลรายเรียงเข้ามาถึงวัดโรงฆ้องต่อไปถึงวัดกุฎีทอง และนำกำลังพล 5,000 นาย ช้าง 30 เชือก เข้ายึดแนวหน้าวัดพระเมรุราชิการามพร้อมกับให้ทหารลงเรือ 50 ลำแล่นเข้ามาปล้นพระนครตรงมุมเจ้าสนุก ในครั้งนั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จออกบัญชาการการรบป้องกันพระนครเป็นสามารถ กองทัพเขมรพยายามยกพลเข้าปล้นพระนครอยู่ 3 วัน แต่ไม่สำเร็จจึงยกกองทัพกลับไปและได้กวาดต้อนผู้คนชาวบ้านนาและนครนายกไปยังประเทศเขมรเป็นจำนวนมาก
    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2117 ในขณะที่กองทัพกรุงศรีอยุธยาภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระธรรมราชาธิราชและพระนเรศวรได้ยกกองทัพไปช่วยพระเจ้าหงสาวดีเพื่อตีเมืองศรีสัตนาคนหุต พระยาละแวกได้ถือโอกาสยกกองทัพมาทางเรือเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง แต่การศึกครั้งนี้โชคดีเป็นของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือขณะที่กองทัพกรุงศรีอยุธยายกไปถึงหนองบัวลำภู เมืองอุดรธานี พระนเรศวรประชวรเป็นไข้ทรพิษ ดังนั้นพระเจ้าหงสาวดีจึงโปรดให้กองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพกลับไป โดยกองทัพกรุงศรีอยุธยากลับมาได้ทันเวลาที่กรุงศรีอยุธยาถูกโจมตีจากกองทัพเรือเขมร ซึ่งขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนอ้าย พ.ศ. 2118 โดยได้ตั้งทัพชุมนุมพลอยู่ที่ตำบลขนอนบางตะนาวและลอบแฝงเข้ามาอยู่ในวัดพนัญเชิง รวมทั้งใช้เรือ 3 ลำเข้าปล้นชาวเมืองที่ตำบลนายก่าย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาได้ใช้ปืนใหญ่ยิงไปยังป้อมค่ายนายก่ายถูกข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก แล้วให้ทหารเรือเอาเรือไปท้าทายให้ข้าศึกออกมารบพุ่ง จากนั้นก็หลอกล่อให้ข้าศึกรุกไล่เข้ามาในพื้นที่การยิงหวังผลของปืนใหญ่ เมื่อพร้อมแล้วก็ระดมยิงปืนใหญ่ถูกทหารเขมรแตกพ่ายกลับไป

    รบกับเขมรที่ไชยบาดาล

    ในปี พ.ศ. 2121 พระยาจีนจันตุ ขุนนางจีนของกัมพูชา รับอาสาพระสัฎฐามาปล้นเมืองเพชรบุรี แต่ต้องพ่ายแพ้ตีเข้าเมืองไม่ได้จะกลับกัมพูชาก็เกรงว่าจะต้องถูกลงโทษ จึงพาสมัครพรรค พวกมาสวามิภักดิ์อยู่กับคนไทย โดยสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงชุบเลี้ยงไว้ ต่อมาไม่นานก็ลงเรือสำเภาหนีออกไป เวลานั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีพระชนมายุได้ 24 พรรษา ตระหนักในพระทัยดีว่า พระยาจีนจันตุเป็นผู้สืบข่าวไปให้เขมร พระองค์จึงเสด็จลงเรือกราบกันยารับตามไป เสด็จไปด้วยอีกลำหนึ่งตามไปทันกันเมื่อใกล้จะออกปากน้ำ พระยาจีนจันตุยิงปีนต่อสู้ สมเด็จพระนเรศวรจึงเร่งเรือพระที่นั่งขึ้นหน้าเรือลำอื่นประทับยืนทรงยิงพระแสงปืนนกสับที่หน้ากันยาไล่กระชั้นชิดเข้าไปจนข้าศึกยิงมา ถูกรางพระแสงปืนแตกอยู่กับพระหัตถ์ก็ไม่ยอมหลบ พระเอกาทศรถเกรงจะเป็นอันตราย จึงตรัสสั่งให้เรือที่ทรงเข้าไปบังเรือสมเด็จพระเชษฐาก็พอดีกับเรือที่ทรงเข้าไป บังเรือสมเด็จพระเชษฐาก็พอดีกับเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุได้ลมแล่นออกทะเลไป เนื่องจากเรือรบไทยเป็นเรือเล็กสู้คลื่นลมไม่ไหวจำต้องถอยขบวนกลับขึ้นมาตามลำน้ำพบกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่คุมกำลังทหารลงเรือหนุนตามมาที่เมืองพระประแดง ทรงกราบทูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ แล้วเคลื่อนขบวนกลับสู่พระนคร
    พระปรีชาสามารถในการรบเป็นที่ประจักษ์หลายครั้งหลายคราว ครั้นยิ่งนานวันความกล้าแกร่งของพระนเรศวรยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ความสามารถในการเป็นผู้นำปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน จนกระทั่งได้รับความนับถือยกย่องโดยทั่วไป
    แต่การทำสงครามกับเขมรก็ยังไม่จบสิ้น ทั้งนี้เพราะเขมรยังคงเชื่อว่าสยามยังอ่อนแอสามารถที่จะเข้ามาปล้นชิงได้อยู่ พ.ศ. 2123 กษัตริย์กัมพูชาได้ให้พระทศราชาและพระสุรินทร์ราชาคุมกำลังประมาณ 5,000 ประกอบไปด้วยช้าง ม้า ลาดตระเวนเข้ามาในหัวเมืองด้านตะวันออก แล้วเคลื่อนต่อเข้ามายังเมืองสระบุรีและเมืองอื่น ๆ หมายจะปล้นทรัพย์จับผู้คนไปเป็นเชลย
    ประจวบเหมาะกับพระนเรศวรเสด็จลงมาประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาพอดี เมื่อทรงทราบข่าวศึกก็ทรงทูลขอกำลังทหารประจำพระนคร 3,000 คน ทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่าเขมรแต่สมเด็จพระนเรศวรก็สามารถวางกลศึกหลอกล่อ กระทั่งสามารถโจมตีทัพของเขมรให้แตกหนีกลับไปได้ในที่สุด
    ฝ่ายพระทศโยธา และพระสุรินทราชาเห็นทัพหน้าแตกยัยิน ไม่ทราบแน่ว่ากองทัพไทยมีกำลังมากน้อยเพียงใด ก็รีบถอยหนีกลับไปทางนครราชสีมา ก็ได้ถูกทัพไทยที่ดักทางคอยอยู่ก่อนแล้ว เข้าโจมตีซ้ำเติมอีก กองทัพเขมรทั้งหมดจึงรีบถอยหนีกลับไปกรุงกัมพูชา การรบครั้งนี้ทำให้สมเด็จพระนเรศวรเป็นที่เคารพยำเกรงแก่บรรดาแม่ทัพนายกอง และบรรดาทหารทั้งปวงเป็นที่ยิ่ง กิตติศัพท์อันนี้เป็นที่เลื่องลือไปถึงกรุงหงสาวดี และผลจากการรบครั้งนี้ทำให้เขมรไม่กล้าลอบมาโจมตีไทยถึงพระนครอีกเลย

    การรบที่เมืองรุมเมืองคัง

    ดูบทความหลักที่: การรบที่เมืองคัง
    เมื่อพระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดีสิ้นพระชนม์ ทางหงสวดีจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ โดยนันทบุเรงได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าบุเรงนอง พระนเรศวรในขณะนั้นก็ได้คุมทัพและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่หงสาวดีตามราชประเพณีที่มีมา คือเมื่อหงสาวดีมีการผลัดเปลี่ยนกษัตริย์ ประเทศราชจะต้องปฏิบัติเช่นนี้[9]
    ทางด้านเจ้าฟ้าเมืองคัง ซึ่งเป็นเมืองออกของหงสาวดีแข็งเมือง ไม่ยอมส่งราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านันทบุเรง ดังนั้นทางหงสาวดีจึงจัดกองทัพขึ้น 3 กอง มีพระมหาอุปราชราชโอรสของพระเจ้านันทบุเรง พระสังขฑัตโอรสเจ้าเมืองตองอู ส่วนทัพที่ 3 คือกองทัพของพระนเรศวร แห่งกรุงศรีอยุธยาให้ยกไปปราบปรามเมืองคัง กองทัพของพระมหาอุปราชบุกเข้าโจมตีเมืองคังก่อน แต่ปรากฏว่าตีไม่สำเร็จ ต่อมาจึงเป็นหน้าที่ของกองทัพพระสังขฑัต แต่การโจมตีก็ต้องผิดหวังล่าถอยกลับมาอีกเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นคราวที่พระนเรศวรจะเข้าโจมตีเมืองคังบ้าง
    พระนเรศวรทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองคังตั้งอยู่บนที่สูง พระองค์จึงวางแผนการยุทธจัดทัพใหม่ แบ่งกำลังส่วนหนึ่งเข้าโจมตีด้านหน้า กำลังส่วนนี้มีไม่มากนัก แต่กำลังส่วนใหญ่ของพระองค์เปลี่ยนทิศทางโอบเข้าตีด้านหลัง ประกอบกับพระองค์ทรงรู้ทางลับที่จะบุกเข้าสู่เมืองคังอีกด้วย จึงสามารถโจมตีเมืองคังแตกโดยไม่ยาก พระนเรศวรจับเจ้าฟ้าเมืองคังไปถวายพระเจ้านันทบุเรงที่หงสาวดีเป็นผลสำเร็จ
    ชัยชนะในการตีเมืองคังครั้งนั้นทำให้ฝ่ายพม่าเริ่มรู้ว่าฝีมือทัพอยุธยา มีความเก่งกล้าสามารถน่าเกรงขามยิ่งกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะพระสังขฑัต และพระมหาอุปราชารู้สึกมีความละอายมากในการทำศึกครั้งนี้ นอกจากนี้แล้วต่อมาพวกเขมรยกทัพมากวาดต้อนผู้คนในเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองชั้นใน ก็ถูกกองทัพของพระนเรศวรโจมตีแตกกระเจิงและเลิกทัพถอยกลับไป
    ความเก่งกล้าสามารถของพระนเรศวรมีมากขึ้นเพียงไร ความหวาดระแวงของหงสาวดีก็เพิ่มทวีมากขึ้นเยี่ยงนั้น พระเจ้านันทบุเรงเริ่มไม่ไว้วางพระทัยพระนเรศวร คอยจับจ้องดูความเปลี่ยนแปลง และความสามารถของยอดนักรบพระองค์นี้อยู่ตลอดเวลา คิดว่าหากมีโอกาสเมื่อใดก็จะกำจัดตัดไฟแต่ต้นลม

    ประกาศอิสรภาพ


    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกตัดสัมพันธไมตรีกับหงสาวดีและกวาดต้อนครัวไทยครัวมอญข้ามแม่น้ำสะโตงกลับคืนพระนคร (จิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
    เมื่อปี พ.ศ. 2126 พระเจ้าอังวะเป็นกบฏ เนื่องจากไม่พอใจทางกรุงหงสาวดีอยู่หลายประการ จึงแข็งเมืองพร้อมกับเกลี้ยกล่อมเจ้าไทยใหญ่อีกหลายเมืองให้แข็งเมืองด้วย พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงยกทัพหลวงไปปราบ ในการณ์นี้ได้สั่งให้เจ้าเมืองแปรเจ้าเมืองตองอูและเจ้าเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งทางกรุงศรีอยุธยาด้วย ให้ยกทัพไปช่วยทางไทย สมเด็จพระมหาธรรมราชาโปรดให้สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปแทน
    สมเด็จพระนเรศวรยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก เมื่อวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม พ.ศ. 2126 พระองค์ยกทัพไทยไปช้า ๆ เพื่อให้การปราบปรามเจ้าอังวะเสร็จสิ้นไปก่อน ทำให้พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงแคลงใจว่า ทางไทยคงจะถูกพระเจ้าอังวะชักชวนให้เข้าด้วย จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาคุมทัพรักษากรุงหงสาวดีไว้ถ้าทัพไทยยกมาถึงก็ให้ต้อนรับและหาทางกำจัดเสีย และพระองค์ได้สั่งให้พระยามอญสองคน คือ พระยาเกียรติและพระยาราม ซึ่งมีสมัครพรรคพวกอยู่ที่เมืองแครงมาก   และทำนองจะเป็นผู้คุ้นเคยกับสมเด็จพระนเรศวรมาแต่ก่อน ลงมาคอยต้อนรับทัพไทยที่เมืองแครง อันเป็นชายแดนติดต่อกับไทย พระมหาอุปราชาได้ตรัสสั่งเป็นความลับว่า เมื่อสมเด็จพระนเรศวรยกกองทัพขึ้นไป ถ้าพระมหาอุปราชายกเข้าตีด้านหน้าเมื่อใด ให้พระยาเกียรติและพระยารามคุมกำลังเข้าตีกระหนาบทางด้านหลัง ช่วยกันกำจัดสมเด็จพระนเรศวรเสียให้จงได้ พระยาเกียรติกับพระยารามเมื่อไปถึงเมืองแครงแล้วได้ขยายความลับนี้แก่พระมหาเถรคันฉ่องผู้เป็นอาจารย์ของตน ทุกคนไม่มีใครเห็นดีด้วยกับแผนการของพระเจ้ากรุงหงสาวดี 
    กองทัพไทยยกมาถึงเมืองแครง เมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 โดยใช้เวลาเดินทัพเกือบสองเดือน กองทัพไทยตั้งทัพอยู่นอกเมือง เจ้าเมืองแครงพร้อมทั้งพระยาเกียรติกับพระยารามได้มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนเรศวร จากนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งคุ้นเคยกันดีมาก่อน พระมหาเถรคันฉ่องมีใจจึงกราบทูลถึงเรื่องการคิดร้ายของทางกรุงหงสาวดี แล้วให้พระยาเกียรติกับพระยารามกราบทูลให้ทราบตามความเป็นจริง เมื่อพระองค์ได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ก็มีพระราชดำริเห็นว่าการเป็นอริราชศัตรูกับกรุงหงสาวดีนั้น ถึงกาลเวลาที่จะต้องเปิดเผยต่อไปแล้ว จึงได้มีรับสั่งให้เรียกประชุมแม่ทัพนายกอง กรมการเมือง เจ้าเมืองแครงรวมทั้งพระยาเกียรติพระยารามและทหารมอญมาประชุมพร้อมกัน แล้วนิมนต์พระมหาเถรคันฉ่องและพระสงฆ์มาเป็นสักขีพยาน ทรงแจ้งเรื่องให้คนทั้งปวงที่มาชุมนุม ณ ที่นั้นทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากนั้นพระองค์ได้ทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"
    จากนั้นพระองค์ได้ตรัสถามชาวเมืองแครงว่าจะเข้าข้างฝ่ายใด พวกมอญทั้งปวงต่างเข้ากับฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรจึงให้จับเจ้าเมืองกรมการพม่าแล้วเอาเมืองแครงเป็นที่ตั้งประชุมทัพ เมื่อจัดกองทัพเสร็จก็ทรงยกทัพจากเมืองแครงไปยังเมืองหงสาวดีเมื่อวันแรม 3 ค่ำ เดือน 6[15]
    ฝ่ายพระมหาอุปราชาที่อยู่รักษาเมืองหงสาวดี เมื่อทราบว่าพระยาเกียรติพระยารามกลับไปเข้ากับสมเด็จพระนเรศวร จึงได้แต่รักษาพระนครมั่นอยู่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปใกล้ถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบความว่า พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว กำลังจะยกทัพกลับคืนพระนคร พระองค์เห็นว่าสถานการณ์ครั้งนี้ไม่สมคะเน เห็นว่าจะตีเอาเมืองหงสาวดีในครั้งนี้ยังไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันเที่ยวบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนไปแต่ก่อนให้อพยพกลับบ้านเมือง ได้ผู้คนมาประมาณหมื่นเศษให้ยกล่วงหน้าไปก่อน พระองค์ทรงคุมกองทัพยกตามมาข้างหลัง[16]

    พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง

    ฝ่ายพระมหาอุปราชาทราบข่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรกวาดต้อนคนไทยกลับจึงได้ให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวงยกติดตามกองทัพไทยมา กองหน้าของพม่าตามมาทันที่ริมฝั่งแม่น้ำสะโตง ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ข้ามแม่น้ำไปแล้ว และคอยป้องกันมิให้ข้าศึกข้ามตามมาได้ ได้มีการต่อสู้กันที่ริมฝั่งแม่น้ำ สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนคาบชุดยาวเก้าคืบ ยิงถูกสุรกรรมาแม่ทัพหน้าพม่าตายบนคอช้าง กองทัพของพม่าเห็นแม่ทัพตาย ก็พากันเลิกทัพกลับไป เมื่อพระมหาอุปราชาแม่ทัพหลวงทรงทราบ จึงให้เลิกทัพกลับไปกรุงหงสาวดี พระแสงปืนที่ใช้ยิงสุรกรรมาตายบนคอช้างนี้ได้นามปรากฏต่อมาว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธ อันเป็นเครื่องราชูปโภค[16]
    เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับถึงเมืองแครง ทรงพระราชดำริว่าพระมหาเถรคันฉ่องกับพระยาเกียรติพระยารามได้มีอุปการะมาก สมควรได้รับการตอบแทนให้สมแก่ความชอบ จึงทรงชักชวนให้มาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา พระมหาเถรคันฉ่องกับพระยามอญทั้งสองก็มีความยินดีพาพรรคพวกเสด็จเข้ามาด้วยเป็นอันมาก ในการยกกำลังกลับครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรทรงเกรงว่า ข้าศึกอาจยกทัพตามมาอีกถ้าเสด็จกลับทางด่านแม่ละเมา มีกองทัพของนันทสูราชสังครำตั้งอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรจะเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง พระองค์จึงรีบสั่งให้พระยาเกียรติ พระยาราม นำทัพเดินผ่านหัวเมืองมอญลงมาทางใต้ มาเข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลแก่พวกมอญที่สวามิภักดิ์ ทรงตั้งพระมาหาเถรคันฉ่องเป็นพระสังฆราชาที่สมเด็จอริยวงศ์ และให้พระยาเกียรติ พระยารามมีตำแหน่งยศได้พระราชทานพานทองควบคุมมอญที่เข้ามาด้วย ให้ตั้งบ้านเรือนที่ริมวัดขมิ้นและวัดขุนแสนใกล้วังจันทร์ของสมเด็จพระนเรศวร แล้วทรงมอบการทั้งปวงที่จะตระเตรียมต่อสู้ข้าศึกให้สมเด็จพระนเรศวรทรงบังคับบัญชาสิทธิขาดแต่นั้นมา[17]

    รบกับพระยาพะสิม








    ปี พ.ศ. 2127 หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ 7 เดือน พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงจัดทัพสองทัพให้ยกมาตีไทย ทัพแรกมีพระยาพสิม (เป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าหงสาวดี) คุมกำลัง 30,000 โดยยกมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทัพที่สองมีเจ้าเมืองเชียงใหม่ชื่อมังนรธาช่อราชอนุชา ยกทัพบกและเรือมา จากเชียงใหม่มีกำลังพล 100,000 กองทัพพระยาพสิมยกเข้ามาถึงเมืองกาญจนบุรี (ถึงก่อนทัพเจ้าเมืองเชียงใหม่) สมเด็จพระนเรศวรทรงให้พระยาจักรียกทัพเรือไปยิงปืนใหญ่ดักข้าศึกแถว ๆ เมืองสุพรรณบุรี ทัพพม่าถูกปืนใหญ่แตกพ่ายหนีไปอยู่บนเขาพระยาแมน เจ้าพระยาสุโขทัยยกทัพไปเขาพระยาแมน เข้าตีทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกระเจิง เจ้าพระยาสุโขทัยจึงสั่งให้ตามบดขยี้ข้าศึกจนถึงชายแดนเมืองกาญจนบุรี หลังจากทัพพระยาพสิมแตกพ่ายหนีกลับไปได้สองอาทิตย์ กองทัพพระยาเชียงใหม่ได้เดินทัพมาถึงชัยนาท โดยที่ไม่ทราบข่าวการพ่ายแพ้ของพระยาพสิมจึงส่ง แม่ทัพและทหารจำนวนหนึ่งมาตั้งค่ายที่ปากน้ำบางพุทรา ทางสมเด็จพระนเศวรมีรับสั่งให้พระราชมนูยกทัพไปตีข้าศึกที่ปากน้ำบางพุทรา เมื่อไปถึงพระราชมนูเห็นว่ากำลังน้อยกว่ามาก (พม่ามีอยู่ 15,000 ไทยมี 3,200 คน) จึงแต่งกองโจรคอยดักฆ่าพม่าจนเสียขวัญถอยกลับไปชัยนาท สุดท้ายทัพพม่าจึงถอยกลับไป

    รบกับพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านนายสระเกศ

    พ.ศ. 2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกกองทัพมาแก้แค้นตั้งอยู่ที่บ้านสระเกษในแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ สมเด็จพระนเรศวรกับพระเอกาทศรถยกทัพไปถึงตำบลป่าโมก ก็พบกับกองทัพพม่าซึ่งลงมาเที่ยวรังแกราษฎรทางเมืองวิเศษชัยชาญ จึงได้เข้าโจมตีจนทัพพม่าล่าถอยไป พระเจ้าเชียงใหม่จึงจัดกองทัพยกลงมาอีก สมเด็จพระนเรศวรจึงดำรัสสั่งให้พระราชมนูคุมกองทัพขึ้นไปลาดตระเวนดูก่อน กองทัพพระราชมนูไปปะทะกับพม่าที่บ้านบางแก้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปถึงบ้านแห จึงมีดำรัสให้ข้าหลวงขึ้นไปสั่งพระราชมนูให้ทำเป็นล่าทัพกลับถอยลงมา แล้วพระองค์กับพระอนุชาก็รุกไล่ตีทัพพม่าแตกพ่ายทั้งทัพหน้าและทัพหลวงจนถึงค่ายที่ตั้งทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ที่บ้านสระเกษ ทัพของพระเจ้าเชียงใหม่จึงแตกกระจัดกระจายไป
    เมื่อได้ค่ายที่บ้านสระเกศแล้วสมเด็จพระนเรศวรทรงติดตามพระเจ้าเชียงใหม่ขึ้นไปถึงนครสวรรค์ ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าเชียงใหม่นี้หนีไปอาศัยอยู่กับพระมหาอุปราชาที่เมืองกำแพงเพชรแล้ว หากติดตามไปอาจเสียทีพระมหาอุปราชาได้ จึงได้วางกำลังส่วนหนึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนเอาไว้ที่เมืองนครสวรรค์ แล้วยกทัพลงไปสมทบที่ปากน้ำบางพุทธา และถวายรายงานพร้อมคาดการณ์ว่าข้าศึกไม่น่าจะยกพลมาถึงกรุงศรีอยุธยาก่อนฤดูแล้ง ต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชามีรับสั่งให้เลิกกองทัพเสด็จกลับพระนคร

    พระแสงดาบคาบค่าย


    ปีพ.ศ. 2129 พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงประชุมกองทัพจำนวน 250,000 คนยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในช่วงต้นเดือนยี่ข้าวในนายังเกี่ยวไม่เสร็จ สมเด็จพระนเรศวรจึงรับสั่งให้เจ้าพระยากำแพงเพชรยกทัพออกไปป้องกันชาวนาที่กำลังเกี่ยวข้าว พอทัพพม่าของพระมหาอุปราชยกทัพมาถึงก็ให้ทัพม้าเข้าตีจนทัพเจ้าพระยากำแพงเพชรแตกพ่ายหนีเข้าเมือง สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธอย่างมาก เพราะไทยไม่เคยแตกพ่ายแพ้ต่อข้าศึกอาจทำให้ทหารขวัญเสีย พระองค์และสมเด็จเอกาทศรถเสด็จลงเรือพระที่นั่งออกไปรบทันที  (สมเด็จพระเอกาทศรถทรงถูกกระสุนปืนแต่ไม่เป็นอะไร เพียงแค่ฉลองพระองค์ขาดเท่านั้น) ผลปรากฏว่าทรงยึดค่ายคืนมาได้ สมเด็จพระนเรศวรมีรับสั่งประหารชีวิตเจ้าพระยากำแพงเพชร แต่โชคดีที่พระบิดาสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงขอชีวิตเอาไว้   การศึกครั้งนี้พม่าหมายมั่นจะตีกรุงศรีอยุธยาให้ได้ แต่ด้วยความแข็งแกร่งของทหารไทยจึงรักษาที่มั่นเอาไว้ได้เสมอ เสด็จออกปล้นค่ายพม่าซึ่งเป็นทัพหน้าของหงสาวดี ข้าศึกแตกพ่ายถอยหนี พระองค์จึงไล่ตีมาจนถึงค่ายหลวงของพระเจ้าหงสาวดี เสด็จลงจากม้าคาบพระแสงดาบแล้วนำทหารปีนบันไดขึ้นกำแพงข้าศึก แต่ถูกพม่าใช้หอกแทงตกลงมาข้างล่างหลายครั้งจึงเสด็จกลับพระนคร พระแสงดาบนี้มีนามว่า พระแสงดาบคาบค่าย
    ในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าหงสาวดีทรงทราบการกระทำอันห้าวหาญของสมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสว่า ถ้าพระนเรศวรออกมาอีกจะต้องจับพระองค์ ให้ได้ถึงแม้ว่าจะใช้ทหารมากมายเพียงใด จึงวางแผนให้ลักไวทำมูนำทหารจำนวน 10,000 ไปดักจับ สมเด็จพระนเรศวรทรงออกไปปล้นค่ายหลวงพม่าอีก พม่าจึงใช้ทหารจำนวนน้อยเข้าล่อให้พระองค์ไล่ตี เข้ามาจนถึงบริเวณที่ลักไวทำมูซุ่มรออยู่ ลักไวทำมูจะเข้ามาจับพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรจึงใช้พระแสงทวนแทงลักไวทำมูตายทันที แต่พระองค์ยังถูกล้อมอยู่และสู้กับทหารพม่า จำนวนมากนานร่วมชั่วโมง จนทัพไทยตามมาทันจึงเสด็จกลับพระนครได้ สุดท้ายกองทัพหงสาวดีบอบช้ำจากการสู้รบกับไทยอย่างมากจึงถอยทัพกลับไปเช่นเดิม

    เสด็จขึ้นครองราชย์





    พระราชกรณียกิจนับตั้งแต่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพเป็นต้นมา หงสาวดีได้เพียรส่งกองทัพเข้ามาหลายครั้ง แต่ก็ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายไปทุกครั้ง เมื่อสมเด็จพระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2133 พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2133 เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 และโปรดเกล้าฯ ให้พระเอกาทศรถ พระอนุชา ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช แต่มีศักดิ์เสมอพระมหากษัตริย์อีกพระองค์[25]

    พระมหาอุปราชายกทัพมาครั้งแรก

    สมเด็จพระนเรศวรเสวยราชย์ได้ 8 เดือนก็เกิดข้าศึกพม่าอีก เหตุที่จะเกิดศึกครั้งนี้คือเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังตั้งแข็งเมืองขึ้นอีก พระเจ้าหงสาวดีตรัสปรึกษาเสนาบดี เห็นกันว่าเป็นเพราะเหตุที่เจ้าเมืองคังได้ทราบว่าปราบกรุงศรีอยุธยาไม่สำเร็จ จึงตั้งแข็งเมืองเอาอย่างบ้างตราบใดที่ยังไม่ปราบกรุงศรีอยุธยาลงได้[26] ถึงแม้จะปราบเมืองคังได้ เมืองอื่นก็คงแข้งข้อเอาอย่าง แต่ในเวลานั้นพระเจ้าหงสาวดีทรงอยู่ในวัยชราทุพพลภาพ ไม่ทรงสามารถจะไปทำสงครามเอาได้ดังแต่ก่อน จึงจัดกองทัพขึ้นสองทัพ ให้ราชบุตรองค์หนึ่งซึ่งได้เป็นพระเจ้าแปรขึ้นใหม่ ยกไปตีเมืองคังทัพหนึ่งให้พระยาพสิม พระยาพุกามเป็นกองหน้า พระมหาอุปราชาเป็นกองหลวงยกลงมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกทัพหนึ่ง พระมหาอุปราชายกออกจากกรุงหงสาวดีเมื่อเดือน 12 พ.ศ. 2133 มาเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อตรงมาตีพระนครศรีอยุธยาทีเดียว[27]
    ฝ่ายทางกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ รู้ตัวช้าจึงเกิดความลำบาก ไม่มีเวลาจะต้อนผู้คนเข้าพระนครดังคราวก่อน ๆ สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นว่าจะคอยต่อสู้อยู่ในกรุงอาจไม่เป็นผลดีเหมือนหนหลัง จึงรีบเสด็จยกกองทัพหลวงออกไปกับสมเด็จพระเอกาทศรถ ในเดือนยี่ เมือเสด็จไปถึงเมืองสุพรรณบุรีได้ทรงทราบว่าข้าศึกยกล่วงเมืองกาญจนบุรีเข้ามาแล้ว จึงให้ตั้งทัพหลวงรับข้าศึกอยู่ที่ลำน้ำท่าคอย พอกองทัพพม่ายกมาถึงก็รบกันอย่างตะลุมบอน พระยาพุกามแม่ทัพพม่าคนหนึ่งตายในที่รบ กองทัพพม่าถูกไทยฆ่าฟันล้มตายเป็นอันมาก ที่เหลือก็พากันพ่ายหนี ไทยไล่ติดตามไปจับพระยาพสิมได้ที่บ้านจระเข้สามพันอีกคนหนึ่ง พระมหาอุปราชาเองก็หนีไปได้อย่างหวุดหวิด เมื่อกลับไปถึงหงสาวดีพวก แม่ทัพนายกองก็ถูกลงอาญาไปตาม ๆ กัน พระมหาอุปราชาก็ถูกภาคทัณฑ์ให้แก้ตัวในภายหน้า

    สงครามยุทธหัตถี

    เช้าของวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรทรงช้าง นามว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ ส่วนพระสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงช้างนามว่า เจ้าพระยาปราบไตรจักร ช้างทรงของทั้งสองพระองค์นั้นเป็นช้างชนะงา คือช้างมีงาที่ได้รับการฝึกให้รู้จักการต่อสู้มาแล้วหรือเคยผ่านสงครามชนช้าง ชนะช้างตัวอื่นมาแล้ว ซึ่งเป็นช้างที่กำลังตกมัน ในระหว่างการรบจึงวิ่งไล่ตามพม่าหลงเข้าไปในแดนพม่า มีเพียงทหารรักษาพระองค์และจาตุรงค์บาทเท่านั้นที่ติดตามไปทันในปี พ.ศ. 2135 พระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง โปรดให้พระมหาอุปราชา นำกองทัพทหารสองแสนสี่หมื่นคน มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่าจะยกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลังหนึ่งแสนคนเดินทางออกจากบ้านป่าโมกไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย

    สมเด็จพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าเท้าพระยา จึงทราบได้ว่าช้างทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพ และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว"

    พระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสช้างนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้นเจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวรทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาเข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง

    ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน ทหารพม่าเห็นว่าแพ้แน่แล้ว จึงใช้ปืนระดมยิงใส่สมเด็จพระนเรศวรได้รับบาดเจ็บ ทันใดนั้น ทัพหลวงไทยตามมาช่วยทัน จึงรับทั้งสองพระองค์กลับพระนคร พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนา

    แต่ในมหายาชะเวงหรือพงศาวดารของพม่า ระบุว่า การยุทธหัตถีครั้งนี้ ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรบุกเข้าไปในวงล้อมของฝ่ายพม่า ฝ่ายพม่าก็มีการยืนช้างเรียงเป็นหน้ากระดาน มีทั้งช้างของพระมหาอุปราชา ช้างของเจ้าเมืองชามะโรง ทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ระดมยิงปืนใส่ฝ่ายพม่า เจ้าเมืองชามะโรงสั่งเปิดผ้าหน้าราหูช้างของตน เพื่อไสช้างเข้ากระทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรเพื่อป้องกันพระมหาอุปราชา แต่ปรากฏว่าช้างของเจ้าของชามะโรงเกิดวิ่งเข้าใส่ช้างของพระมหาอุปราชาเกิดชุลมุนวุ่นวาย กระสุนปืนลูกหนึ่งของทหารฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรก็ยิงถูกพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์
    สุดยอดพระมหากษัตริย์ไทย อยุธยา - พันธกานต์ เกตุแก้ว

    ส.ศิวรักษ์: ร. 10 คือ “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ”
    13 กุมภาพันธ์ 2018


    ส.ศิวรักษ์ เกิดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 7 ในวัย 85 ปี เขาผ่านชีวิตใต้ร่มพระบารมีของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีมา 4 พระองค์

    "พระ




    "พระมหากษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ" คือความรู้สึกของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ต่อพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ในวันที่เขารอดพ้นจากข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต่ออดีตบูรพกษัตริย์ ภายหลังทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา จนได้รับ "พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม" ยุติคดี 112
    "ส.ศิวรักษ์" นักคิดนักพูดฝีปากกล้า ในวัย 85 ปี ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นฝ่าย "กษัตริย์นิยม" ผ่านชีวิตใต้ร่มพระบารมีของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีมา 4 รัชกาล พร้อมการถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในหลายยุคสมัยทางการเมืองถึง 5 ครั้ง
    ในช่วงของการปกครองเผด็จการทหารบางยุค สุลักษณ์ถึงกับต้องพาตัวเองออกนอกประเทศ หนีภัยอำนาจที่ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เล่นงานเขา ขณะเดียวกันเขาคือแกนนำคนสำคัญ ที่ออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในรอบหลายสิบปี จนมาในปี 2561 เป็นอีกครั้งที่ "ปัญญาชนสยาม" ผู้นี้ พูดถึงการปฏิรูปกฎหมายข้อนี้
    "พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ท่านทรงมีความยุติธรรม ท่านรู้เรื่องอะไรแล้ว ถ้าถึงพระเนตรพระกรรณ ท่านจะทำสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์สุขของราษฎร" สุลักษณ์ กล่าวกับบีบีซีไทย ที่บ้านพักย่านบางรัก เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่มีตัวเขาและผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้าเฝ้าฯ ในวันที่เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์จากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปลายปีที่แล้ว
    เผยนาทีเข้าเฝ้าฯ ชื่นชมพระบารมี
    1 ธ.ค. ไม่เพียงเป็นวันเข้ารับพระราชทานปริญญา แต่ตรงกับวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เขาจึงเลือกนำไม้ตะพดที่ตกทอดมาจากเจ้านายพระองค์นี้ติดตัวไปในพิธีการสำคัญ
    "ผมถือไม้ตะพดสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ไปเข้าเฝ้าฯ วันนั้นเจ้าพนักงานบอกผมว่าถือไม้ตะพดเข้าไปไม่ได้ ทุกคนต้องถอดรองเท้า ผมก็ถอดรองเท้าเข้าไป คนอื่นคลานเข้าไปล่วงหน้า 3-4 คน พอถึงผม ผมกราบบังคมทูลฯ ข้าพระพุทธเจ้าฯ ขอพระราชทานพระราชานุญาตไม่หมอบคลาน ถ้าลงคลาน ข้าพระพุทธเจ้าลุกขึ้นไม่ได้…ท่านรับสั่งไม่ต้อง... รับสั่งเรียกผม 'อาจารย์' เลย... อาจารย์ไม่ต้อง" สุลักษณ์เล่า

    สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรที่ ม.ธรรมศาสตร์ วันที่ 1 ธันวาคม 2560Image copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพสุลักษณ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์จากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2560

    หลังจากนั้นพระองค์ทรงรับสั่งเรียกมหาดเล็กนำเก้าอี้ให้สุลักษณ์นั่ง เป็นตอนนั้นเองที่ความแรกของสุลักษณ์ได้ถูกนำขึ้นกราบบังคมทูล
    "กราบบังคมทูลใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ตามที่พระราชทานพระราชานุญาตให้พวกจิตอาสากับข้าราชบริพารขุดคูคลองต่าง ๆ นั้น เป็นพระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ ไพร่ฟ้าชื่นชมมาก ท่านตรัส 'โอ้ ชอบเหรอ ชอบเหรอ' " สุลักษณ์ถ่ายทอดช่วงเวลาสั้น ๆ ในวันนั้น
    พระราชอำนาจในการแนะนำรัฐบาล
    ถ้อยคิดหนึ่งที่สุลักษณ์ กล่าวถึงบทเรียนจากคดีทางการเมืองในวันหลุดพ้นจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการแนะนำรัฐบาลได้
    "การมีพระมหากษัตริย์เป็นหลักชัยนั้น ย่อมทรงเป็นที่พึ่งของผู้ที่แสวงหาความเป็นธรรมในบ้านเมืองได้" นั่นเป็นหลักการที่เขายืนยันผ่านข้อเขียนบนเพจเฟซบุ๊ก Sulak Sivaraksa หลังอัยการศาลทหารสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นฯ
    "พระองค์ท่านมีพระราชอำนาจที่จะแนะนำรัฐบาลได้ แนะนำแล้ว ไม่เชื่อท่านก็ได้ แต่ก็เคราะห์ดี เขาก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ เขาสั่งยุติคดีผม" สุลักษณ์กล่าวกับบีบีซีไทย

    พระราชพิธีImage copyrightGETTY IMAGES

    สุลักษณ์มองว่าแม้คดีของเขายุติลง แต่ตราบใดที่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่ว่าเขาหรือใครก็ตามย่อมอาจถูกกล่าวหาด้วยกฎหมายนี้ในอนาคต
    "นี่เป็นเรื่องที่น่าเศร้า ทั้ง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อนมีพระราชดำรัสชัดเจนเลยว่า ใครนำคดีเรื่องนี้ เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเกิดขึ้น ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมโทรม และเป็นการทำร้ายพระองค์ท่านเป็นการส่วนตัวด้วย"
    เป็นอีกครั้งที่สุลักษณ์ยกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อปี 2548 มากล่าวถึงการฟ้องร้องในคดี ม. 112 ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทำลายศัตรูทางการเมือง
    "ไม่มีใครที่อ้างว่าจงรักภักดี ไม่มีรัฐบาลไหนดำเนินตามพระราชดำรัสอันนี้เลย เพราะกฎหมาย 112 ช่วยรัฐบาล มันไม่ได้ช่วยประชาชน" ส.ศิวรักษ์กล่าวถึงบริบทที่เกิดขึ้นในรัฐบาลชุดปัจจุบัน
    112 กำราบประชาชน กับข้อเสนอปฏิรูป
    จริงอยู่ที่ประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 บังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2500 และบังคับใช้ทั้งในยุครัฐบาลพลเรือนและทหาร แต่นักวิจารณ์การเมือง ชี้ว่า กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องจักรกำจัดฝ่ายต่อต้านคณะรัฐประหารด้วย เพราะหนึ่งในข้ออ้างของการก่อรัฐประหารทุกยุคทุกสมัยคือ "เพื่อพิทักษ์ชาติและราชบัลลังก์"
    ข้อมูลจากโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ระบุว่า นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารของ คสช. ในปี 2557 มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยความผิดอาญา ม. 112 อย่างน้อย 94 ราย
    "คุณประยุทธ์ (จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.) เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ถ้าคุณจงรักภักดีจริง ๆ คุณต้องแก้ไขมาตรานี้ นี่ไม่แก้ไขอะไรเลย และมาตรานี้เป็นประโยชน์ต่อเผด็จการ เพราะใครก็ตามที่ต่อต้าน คุณเล่นมาตรานี้หมด" สุลักษณ์ กล่าว
    "รัฐบาลไม่สนใจ เพื่อความอยู่รอดใครออกมาเคลื่อนไหวจับเลย คุณใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรม เผด็จการอย่างนี้ถือว่าเป็นเผด็จการที่เลวร้าย แล้วก็อยู่มาได้ 2-3 ปี ก็อยู่ได้ไม่ไยไพ อันตราย ผมเชื่อเลยว่ามาตรานี้ถ้าไม่แก้ไข ประยุทธ์จะโดนมาตรานี้เล่นงานวันใดวันหนึ่ง ผมเตือนด้วยความหวังดี"

    พล.อ.ประยุทธ์Image copyrightGETTY IMAGES

    เกี่ยวกับคำกล่าวนี้ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกับบีบีซีไทยว่า รัฐบาลบังคับใช้กฎหมาย 112 กับความผิดที่เกิดขึ้นจริง หากมีการละเมิดกฎหมาย ไม่ว่ารัฐบาลประเทศไหนก็ต้องดำเนินการ และเห็นว่า "เป็นเพียงอคติของคนกลุ่มหนึ่งที่มองว่ารัฐบาลใช้กฎหมายหมิ่นสถาบันฯ เป็นเครื่องมือกับฝ่ายที่ต่อต้าน เพราะกฎหมายนี้ไม่มีใครเลือกใช้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ เพียงแต่ในอดีตที่ผ่านมาเชื่อว่ามีการละเลยไม่บังคับใช้"
    โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณไม่เคยฟ้องร้องบุคคลใดที่กล่าวร้าย จึงต้องมีกฎหมายนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องดูแลปกป้องพระองค์ท่าน
    อย่างไรก็ตามบุคคลที่ถูกตั้งข้อหาคดี 112 อย่างสุลักษณ์ เสนอให้ปฏิรูปประมวลกฎหมายอาญา ม. 112 ด้วยการแก้ไขทบทวนอัตราโทษจำคุกที่อยู่ระหว่าง 3-15 ปี โดยยกเลิกอัตราโทษขั้นต่ำ และมีคณะกรรมการกลั่นกรองความผิดในคดี 112 ก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
    "ก่อนที่ใครจะนำคดีนี้มาฟ้องตำรวจ ต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการนั้นอาจจะเป็นเลขาธิการสำนักพระราชวังก็ได้ อาจจะเป็นคณะกรรมการตุลาการก็ได้ มีคณะกรรมการได้ตรวจดูว่ามีมูลหรือไม่" สุลักษณ์ กล่าวกับบีบีซีไทย และเห็นว่ามือกฎหมายของรัฐบาล คสช. อย่างนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และหรือสถาบันพระปกเกล้า เหมาะสมที่จะรับงานนี้
    อย่างไรก็ตามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 15 ก.พ. ว่า "เรื่องนี้ไม่เคยมี ไม่เคยทำ ไม่เคยเกี่ยว และไม่มีใครมาขอคำปรึกษากับผม แต่หลังจากนี้จะมีใครมาขอคำปรึกษาหรือไม่ ผมไม่ทราบ อดีตและปัจจุบันไม่มี แต่อนาคตไม่รู้"
    ย้อนดูพัฒนาการ-ข้อถกเถียงเกี่ยวกับ ม. 112
    2519คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่มี พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ออกคำสั่งฉบับที่ 41 เพิ่มอัตราโทษจากเดิมให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เป็นจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี
    2554คณะ "นิติราษฎร์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดย ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ออกข้อเสนอแก้ไข ม. 112 โดยให้ยกเลิกมาตรานี้ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร, ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น
    2555กลุ่มประชาชนที่ใช้ชื่อว่าคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) เข้าชื่อกว่า 3.4 หมื่นชื่อ ขอให้สภาแก้ ม. 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ ก่อนที่ประธานรัฐสภา มีคำสั่งไม่รับร่างฯ ไว้พิจารณา เนื่องจากข้อเสนอนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    ที่มา โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์)
    รัชกาลที่ 10 ทรงหวังดีต่อบ้านเมือง
    แต่ข้อหารือเรื่องการปฏิรูป ม. 112 สุลักษณ์ปฏิเสธว่า มิได้มีการกราบบังคมทูลความข้อนี้ต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ระหว่างการเข้าเฝ้า
    "ผมทูลเกล้าฯ ได้เฉพาะเรื่องของผม ที่ทรงพระมหากรุณาฯ ผมไปก้าวก่ายอะไรมากไม่ได้ เราต้องรู้ว่าท่านเป็นเจ้า เราเป็นไพร่ ไปก้าวก่ายมากมายไปไม่สมควร ผมจะกราบบังคมทูล อะไรพระองค์ท่าน ก็เป็นเรื่องที่ผมกราบบังคมทูล พระองค์ท่าน ไม่สมควรจะมาพูดในที่สาธารณะ ผมต้องรู้ตัว เราต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตัว ไม่ไปก้าวก่าย ไปอวดวิเศษอะไรเป็นที่หมั่นไส้เปล่า ๆ และผมไม่อยากให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทด้วย" สุลักษณ์ กล่าว

    ส ศิวรักษ์Image copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพส.ศิวรักษ์ กล่าวภายหลังอัยการทหารสั่งไม่ฟ้องในคดีหมิ่นสมเด็จพระนเรศวรฯ ว่าเป็นผลมาจากการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

    ก่อนหน้านี้ สุลักษณ์เคยระบุว่า "เมื่อเรามีพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่แล้ว คำวิพากษ์วิจารณ์จะกลับมา ผมเชื่อว่าพระองค์ท่านคงจะเปิดโอกาสให้คนได้วิพากษ์วิจารณ์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ใช่เป็นเทวราช หรือสมมติเทพ แต่เป็นคนคนหนึ่ง" (The Momentum, พ.ย. 2559) แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การลุกขึ้นมาพูดเรื่องแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์คล้ายเป็นเรื่องต้องห้าม เพดานการอภิปรายถูกกดลงจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยข้อหาร้ายแรงว่าไม่จงรักภักดี และเครื่องมือปกป้องสถาบันจะถูกทำลาย
    "พระองค์ท่านจะทรงดำเนินพระบรมราโชบายอย่างไร ผมไม่สามารถจะพูดได้ แต่ผมเชื่อว่าพระองค์ท่านทรงหวังดีต่อบ้านเมือง ทรงต้องการแก้ไขเปลี่ยนแปลงปรับปรุงต่าง ๆ แต่ขณะเดียวก็ต้องเข้าใจว่าพระองค์ท่านเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ท่านจะมาทำก้าวก่ายเกินเลยไป เป็นไปได้ยาก แต่ผมเชื่อเลยว่า ทรงมีพระราชวินิจฉัยที่จะแก้ไขปรับปรุงอะไรต่าง ๆ เท่าที่จะทรงทำได้ และผมเชื่อว่าท่านจะทรงทำ แต่พระองค์ก็ต้องประกอบด้วย นอกจากพระมหากรุณาธิคุณด้วยแล้ว ก็ประกอบไปด้วยขันติคุณด้วย" สุลักษณ์ กล่าวกับบีบีซีไทย

    ส.ศิวรักษ์Image copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพส.ศิวรักษ์ ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ตำรวจเคยนำหมายมาจับกุมเขาในคดี 112 ณ สถานที่แห่งนี้

    สุลักษณ์ กับ "คนรุ่นใหม่"
    กว่า 50 ปีก่อน วารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ที่มี ส.ศิวรักษ์ เป็นบรรณาธิการในยุคหนึ่ง ได้เป็นเวทีก่อกำเนิดเครือข่ายปัญญาชน ส่งอิทธิพลต่อความคิด-ความอ่านจนนำมาสู่ความเคลื่อนไหวของกระบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516
    ปัจจุบัน ส.ศิวรักษ์ ก็ยังดำรงบทบาทยืนข้างนักศึกษา สะท้อนผ่าน 3 เหตุการณ์สำคัญ
    เหตุการณ์เจ้าหน้าที่บุกจับนักศึกษาที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ที่สวนเงินมีมา สถานที่ในความดูแลของ ส.ศิวรักษ์ เมื่อเดือน มิ.ย. 2558 ครั้งนั้น ปรากฏภาพสุลักษณ์ยืนประจันหน้าแถวกำลังตำรวจหน้า สน.พระราชวัง รอพบ 14 นักศึกษาที่ถูกจับกุม หลังออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร คสช.

    ปชต ใหม่Image copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพหลังรัฐประหารของ คสช. 1 ปี นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เริ่มมีการเคลื่อนไหวในหลายเหตุการณ์ ครั้งนี้เกิดในช่วงเดือน มิ.ย.2558

    สองคือ การเป็นผู้ปกครองของนายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล อดีตประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเหตุการณ์ที่เนติวิทย์และเพื่อน ลุกเดินออกจากแถวในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนนิสิตใหม่ของจุฬาฯ ก่อนที่เขาจะถูกลงโทษตัดคะแนนและถูกปลดพ้นจากตำแหน่งประธานสภานิสิตฯ
    และท้ายสุด คือการเป็นนายประกันให้นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" ในคดี 112 จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์บีบีซีไทย โดยสุลักษณ์ประกาศใช้ "เกียรติยศ" ของตัวเอง ยื่นประกันตัวนายจุตภัทร์ ครั้งที่ 6 เมื่อเดือน ก.พ. 2560 แต่นั่นก็เป็นหนึ่งในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด 10 ครั้ง ที่ศาลไม่อนุญาต
    "ทรงรู้จักคนรุ่นใหม่"
    6 เดือนต่อมา "ไผ่ ดาวดิน" ยอมรับสารภาพ ภายหลังถูกจำกัดอิสรภาพนาน 8 เดือน ศาลจังหวัดขอนแก่นอ่านคำพิพากษาลับในวันเดียวกัน ตัดสินจำคุก 5 ปี แต่ลดโทษกึ่งหนึ่ง เนื่องจากรับสารภาพ
    "ผมว่าถ้าถึงพระเนตรพระกรรณ ผมเชื่อเลยว่าจะคงทรงมีพระมหากรุณา ผมเชื่อเลย เพราะว่าฟังดูที่ผมเข้าเฝ้าฯ ทรงเป็นห่วงเป็นใยประชาชนพลเมือง ทรงรู้จักคนรุ่นใหม่ ทรงมีพระราชประสงค์จะอุดหนุนคนรุ่นใหม่ เพราะท่านทรงทราบดี บ้านเมืองอนาคตเป็นคนรุ่นใหม่ ไผ่เป็นคนรุ่นใหม่ เนติวิทย์เป็นคนรุ่นใหม่ ท่านมีพระราชประสงค์จะอุดหนุนคนเหล่านี้ ขณะที่คนข้างล่างรังแกคนเหล่านี้" สุลักษณ์ เผยทัศนะของเขาหลังการเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

    ประท้วงเรียกร้องสิทธิ์ประกันตัวImage copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพกลุ่มนักกิจกรรมและนักศึกษา ชุมนุมเรียกร้องสิทธิ์การประกันตัวแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

    "ทรงมีพระราชหฤทัยกว้างขวาง"
    ขณะที่ความไม่แน่ชัดถึงวันที่อำนาจจะคืนสู่ประชาชนถูกสื่อสารต่อสาธารณะจากผู้กุมอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ว่าขึ้นอยู่กับ "ปัจจัยพิเศษ-ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้" รวมถึงมีหลายเหตุการณ์ที่ยังเป็นปริศนา อาทิ การหายไปของหมุดคณะราษฎร สุลักษณ์ เห็นว่าเป็นอันตรายที่จะกล่าวอ้างถึงสิ่งที่ไม่สามารถยืนยันได้นี้
    "ผมได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูล ทรงมีพระราชหฤทัยกว้างขวาง ไม่เคยโจมตีปรีดี พนมยงค์ ไม่เคยโจมตีคณะราษฎร ไม่เคยรังเกียจประชาธิปไตย... ได้รับฟังพระราชดำรัสแล้ว ท่านรู้มาก รู้ลึก รู้กว้าง ทรงห่วงใยประชาชนพลเมือง ห่วงใยคณะสงฆ์ ห่วงใยประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร น่าทึ่งมาก แล้วพวกนี้ที่อ้างว่าจงรักภักดี พูดจาหลายต่อหลายเรื่อง ปัดสว่ะให้พ้นตัวเองแล้วอ้างเบื้องบน แล้วบางคนก็ไม่รู้ นึกว่าเป็นในหลวง นี่อันตรายมาก พวกนี้อ้างว่าจงรักภักดีได้ยังไง ถ้าจงรักภักดีคุณต้องบอก ทั้งหมดผมรับผิดชอบ เพราะคุณปกครองบ้านเมืองในพระปรมาภิไธย" สุลักษณ์กล่าว
    ทหารใหม่ ไล่ ทหารเก่า?
    ในภาวะที่บ้านเมืองอยู่ใน "ระยะเปลี่ยนผ่าน" เสถียรภาพและความมั่นคงดูเหมือนจะมีความสำคัญสูงสุด และเชื่อกันว่ากองทัพเท่านั้นจะทำหน้าที่นี้ได้ ไม่ใช่รัฐบาลพลเรือน สุลักษณ์ตั้งคำถามกลับไปว่า "แล้ว คสช. ดูแลบ้านเมืองให้เรียบร้อยจริงหรือไม่"
    เขากล่าวอีกว่า ในช่วงแรกของการยึดอำนาจอาจเป็นความจริงเช่นนั้น ยุติการชุมนุมกลางเมือง และชนชั้นกลางก็พึงพอใจ แต่ขณะนี้ "คสช. อยู่ไปก็ไม่ทำอะไรให้ดีขึ้น" ก่อนเอ่ยถึงกระแสข่าวที่อาจตอกย้ำทฤษฎีความไม่ลงรอยภายในกองทัพระหว่างทหารหนุ่มและทหารแก่
    "ไม่ใช่แค่ราษฎรคนธรรมดาเบื่อ แม่ทัพนายกองหลายคนก็คงเบื่อเหมือนกัน เพราะแม่ทัพนายกองดี ๆ ก็มี ไม่ใช่แม่ทัพนายกองจะถูกนายพลเอก 2-3 คนจูงจมูกได้ตลอดเวลา ผมเชื่อเลยว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้นได้"

    ทหารอวยพรป๋าImage copyrightWASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
    คำบรรยายภาพพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. นำ ครม. และ ผบ.เหล่าทัพ เข้าอวยพร พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

    ทว่าในทัศนะของ ส.ศิวรักษ์ เขาไม่คิดว่านายทหารหัวก้าวหน้าจะบรรจบกับนักศึกษารุ่นใหม่ที่ต้องการเห็นการเมืองใหม่ เหมือนเช่นที่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในยุค 14 ต.ค. 2516 แต่เขายังมีความหวังว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจากคนกลุ่มนี้
    "คนรุ่นใหม่ถึงแม้เขาจะถูกกระทืบถูกถีบยังไง ก็มีความกล้าหาญในจริยธรรม และผมเชื่อในวงการทหารเอง ก็อย่านึกว่าทหารจะซื่อบื้อตามกันไปหมด ผมเชื่อว่าทหารที่รักชาติ รักบ้านรักเมืองมี และผมเชื่อคนเหล่านี้ เขาคงไม่ยอมให้นายพลเอกแก่ ๆ โกงกินกัน ปกป้องพวกเดียวกัน ใช้นาฬิกาเรือนหมื่นเรือนแสนก็ไม่ผิด ใช้แหวนเท่าไหร่ ๆ ก็ได้ ผมเชื่อเลยว่าทหารเหล่านี้เขาเห็นว่าเป็นการเสื่อมเสียกองทัพ เขาต้องทำอะไรสักอย่าง ถ้าเขาทำฉลาด เขาทำอย่างเรียบร้อยก็ไม่เป็นการนองเลือด ผมหวังว่าอย่างนั้น" สุลักษณ์ทิ้งท้าย
    ส.ศิวรักษ์ กับ ข้อกล่าวหาหมิ่นสถาบันฯ
    ระหว่าง 2512-2515ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 พล.ต.อ.ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ และ รมว.สาธารณสุข นำเรื่องเข้าหารือใน ครม. แต่กรณีนี้ไม่ถูกฟ้องเป็นคดีความ
    2527ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก จากการตีพิมพ์หนังสือ "ลอกคราบสังคมไทย" ในยุคนั้นมี พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด สุลักษณ์ถูกจับกุมคุมขัง คดีขึ้นสู่ศาลทหาร แต่มีคำพิพากษายกฟ้อง
    2534ถูก พล.อ.สุจินดา คราประยูร รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) แจ้งจับในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากการปาฐกถา "ประชาธิปไตยกับการรัฐประหาร" หลังการรัฐประหารของ รสช. ผ่านไป 6 เดือน คดีนี้ทำให้สุลักษณ์ต้องหนีไปประเทศลาว ก่อนศาลมีคำสั่งยกฟ้อง
    2547ถูกดำเนินคดีจากการเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาวารสาร Seeds of Peace ซึ่งตีพิมพ์บทความ เรื่อง SIAM of the Forgotten Monarchy: The True Life Sequel to the King and the Land of Smile เจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้อ่านก่อนรายงานผู้บังคับบัญชาจนนำมาสู่กระบวนการดำเนินคดี คดีนี้อัยการไม่สั่งฟ้อง
    2551สืบเนื่องมาจากการบรรยายเรื่อง ปรัชญาพื้นบ้านอีสาน ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 11 ธ.ค.2550 แต่กว่านายสุลักษณ์จะถูกดำเนินคดีก็ล่วงมาอีก 1 ปี ในวันที่ 6 พ.ย.2551 รอง.ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น นำกำลังจับกุม ที่บ้านพักย่านบางรัก ในข้อหาดูหมิ่นสถาบันฯ นายสุลักษณ์ ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวประชาไท ตั้งข้อสังเกตถึงการถูกดำเนินคดีว่า อาจมีเหตุจากการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนต่อกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โฟนอินกับมวลชนถึงประเด็น "ไม่มีใครเอาเขากลับเมืองไทยได้..." จึงอาจนำมาสู่การล็อบบี้ของเจ้าหน้าที่ใน จ.ขอนแก่น
    ที่มา ไอลอว์, ประชาไท,บีบีซีไทยรวบรวม
    ส.ศิวรักษ์: ร. 10 คือ “พระมหากษัตริย์ผู้ทรงปิดทองหลังพระ” - BBC News บีบีซีไทย
    สุดยอดพระมหากษัตริย์ไทย อยุธยา - พันธกานต์ เกตุแก้ว

    Tiada ulasan: